ประวัติอันยิ่งใหญ่ของอิสลาม

ประวัติอันยิ่งใหญ่ของอิสลาม
เรียนรู้ประวัติอิสลาม

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

มุสตอฟา กามาล ผู้ทำลายอิสลามในตุรกี


มุสตอฟา กามาล มีความเชื่อมั่นว่า การที่จะนำพาตุรกีสู่ความความเป็นทันสมัยจะต้องเริ่มเปลี่ยนที่แนวคิดและจารีตดั่งเดิมซึ่งอยู่บนพื้นฐานทางศาสนาอิสลาม ซึ่งขัดต่ออารยะธรรมสมัยใหม่ฉะนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปศาสนาอิสลามก่อน
        การเคลื่อนไหวของมุสตฟา กามาล ในการปฏิรูปศาสนานั้นได้ดำเนินไปไม่น้อยกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว เพราะเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1920
            ดังนั้น ผลลับจากการเคลื่อนไหวของเขานั้น จะดีหรือไม่อย่างไรก็สามารถรู้ได้และสามารถจะบอกยี่ห้อได้เช่นกัน
            1. ประเทศชาติตุรกีและประชาชนตุรกีในปัจจุบัน (ค.ศ.1971) สามารถกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามแต่ถูกแยกตัวออกห่างจากโลกอิสลามอื่นๆ
          ในอดีตอิทธิพลของตุรกีแพร่กระจายไปทั่วทุกสารทิศ แต่ยุดนี้เหตุการณ์เช่นดังกล่าวนั้นขาดหายไปเสียแล้ว
            ตุรกีในอดีตถูกให้ชื่อว่า “ผู้นำแห่งโลกอิสลาม” ในเรื่องศาสนา ในเรื่องวัฒนธรรม ในเรื่องความรู้วิชาการ แต่ในยุคนี้ถูกโลกอิสลามลืมเสียจนหมดสิ้น
            ศาสนาอิสลามในตุรกีเกือบจะหาไม่ได้อยู่แล้ว หนังสือศาสนาที่เคยตีพิมพ์ที่ตุรกีนั้น ขณะนี้ไม่มีเหลืออยู่อีกเลย สำนักพิมพ์หนังสือเกียวกับศาสนาต่างๆถูกย้ายไปอยู่ที่อียิปต์หมดสิ้น
            กล่าวสั้นๆว่า ในยุคของ กามาล นั้น ตุรกีถูกโลกอิสลามมองว่าเป็นประเทศซึ่งมีประชากรนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ไม่มีอิทธิพลใดๆเหลืออยู่อีกแล้ว
            นี่เป็นผลแห่งการปฏิรูปศาสนาของ มุสตอฟา กามาล ตั้งแต่ปี 1920-1930 จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ต้องหยุดชะงักลงไปโดยปริยาย
            2.ทำให้ศาสนาต้องเสื่อมเสียและมัวหมอง เนื่องจากการเปลี่ยนอัลกุรอานจากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกี นอกจากนั้นยังได้เปลี่ยนถ้อยคำ เช่น การอะซาน การละหมาด การขอดุอาด์จากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกีด้วย ดังนั้นจึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเสียขบวนจนย่อยยับไป อัลลอฮฺ ซ.บ. ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมา ไม่ใช่เพียงแค่เป็นธรรมนูญในการดำเนินชีวิตของประชาชาติอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าเพียงอ่านเท่านั้นสำเนียงของมันเป็นอิบาดะห์ด้วย หากว่าอัลกุรอานถูกนำให้เป็นภาษาตุรกีแล้ว ดังนั้น อิบาดะห์ประการหนึ่งก็จะหายไปจากประชาชนตุรกี ซึ่งได้แก่อิบาดะห์ของการอ่านอัลกุรอานนั้นเอง
            มากไปกว่านั้นแล้ว ภาษาตุรกีมีถ้อยคำที่ยังไม่พอเพียง 100 เปอร์เซ็นเหมือนกันกับถ้อยคำหหรือสำนวนที่แฝงอยู่ในภาษาอาหรับ ฉะนั้นจะทำให้ความเข้าใจในศาสนาต้องมีอันเปลี่ยนแปลงไป นี่คือผลแห่งการปฏิรูปศาสนาของ มุสตอฟา กามาล
          
  3.ผลของการที่อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายนัสรอนีและยะฮูดี ดังนั้นสายเลือดหลังจาก
มุสตอฟา กามาล จากไปแล้วก็จะผสมผสานกัน 50-50 (คนละครึ่ง) 50% สายเลือดอิสลาม อีก50% สายเลือดยะฮูดีและนัสรอนี หรือไม่เช่นนั้นก็อาจแบ่งได้ว่า สายเลือดของยะฮูดีและนัสรอนีมีถึง 75% เต็ม การแต่งงานกันระหว่างสตรีอิสลามกับชายนัสรอนีนั้นขัดกันอย่างมากกับกิตาบุลลอฮ์ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า:

وَلَا تَنكِحُوا الْمُشْرِكَاتِ حَتَّىٰ يُؤْمِنَّ وَلَأَمَةٌ مُّؤْمِنَةٌ خَيْرٌ مِّن مُّشْرِكَةٍ وَلَوْ أَعْجَبَتْكُمْ وَلَا تُنكِحُوا الْمُشْرِكِينَ حَتَّىٰ يُؤْمِنُوا وَلَعَبْدٌ مُّؤْمِنٌ خَيْرٌ مِّن مُّشْرِكٍ وَلَوْ أَعْجَبَكُمْ أُولَٰئِكَ يَدْعُونَ إِلَى النَّارِ وَاللَّهُ يَدْعُو إِلَى الْجَنَّةِ وَالْمَغْفِرَةِ بِإِذْنِهِ وَيُبَيِّنُ آيَاتِهِ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَذَكَّرُونَ 

ความว่า และพวกเจ้าจงอย่าแต่งงานกับหญิงมุชริก จนกว่านางจะศรัทธา และทาสหญิงที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดียิ่งกว่าหญิงที่เป็นมุชริก แม้ว่านางได้ทำให้พวกเจ้าพึงใจก็ตาม และพวกเจ้าจงอย่าให้แต่งงานกับบรรดาชายมุชริก จนกว่าพวกเขาจะศรัทธา และทาสชายที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดีกว่าชายมุชริก และแม้ว่าเขาได้ทำให้พวกเจ้าพึงใจก็ตาม ชนเหล่านี้แหละจะชักชวนไปสู่ไฟนรกและอัลลอฮ์นั้นทรงเชิญชวนไปสู่สวรรค์ และไปสู่การอภัยโทษ ด้วยอนุมัติของพระองค์ และพระองค์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้รำลึกกันได้ (อัล-บากอเราะห์ อายะฮฺที่ 221)
ในโองการดังกล่าวนี้ให้ความชัดเจนว่า ไม่อนุญาตให้คนมุชริกแต่งงานกับมุสลิม ส่วนคนยะฮูดีและนัสรอดีในปัจจุบันนี้กลายเป็นมุสริกไปแล้ว เพราะพวกเขาเคารพบูชารูปปั้น คือรูปปั้นของนบีอีซาอะลัยอิสลาม หรือรูปปั้นอื่นๆ
            โปรดสังเกตโบสถ์คริสต์ปัจจุบัน เต็มไปด้วยรูปปั้นทั้งสิ้น การแต่งงานกับอะห์ลุลกิตาบ (ยิว/คริสต์) ที่อัลกุรอานอนุญาตให้นั้นคือบรรดาอะห์ลุลกิตาบสมัยก่อนที่ปราศจากชิริกและมุซริก
            และการที่อนุญาตให้นั้นก็เฉพาะชายมุสลิมกับหญิงอะห์ลุลกิตาบเท่านั้น ส่วนผู้หญิงมุสลิมนั้นไม่อนุญาตให้แต่งงานกับชายอะลุลกิตาบเพราะเกรงว่าพวกเขาจะยอมไปเป็นกาฟิรตามคำสั่งของสามีผู้มีอำนาจเหนือนาง (ภรรยา)
            สรุปว่า การกระทำของมุสตอฟา กามาล ที่อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายยะฮูดี และนัสรอนีนั้น เป็นการกระทำโดยพละการนอกเหนือจากหลักเกณฑ์อิสลาม

การปฏิรูปศาสนาของมุสตอฟา กามาลผู้นี้ เป็นที่ชักเจนว่าขัดกับโองการของอัลกุรอานที่ระบุว่า:

وَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تُقْسِطُوا فِي الْيَتَامَىٰ فَانكِحُوا مَا طَابَ لَكُم مِّنَ النِّسَاءِ مَثْنَىٰ وَثُلَاثَ وَرُبَاعَ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تَعْدِلُوا فَوَاحِدَةً

ความว่า: ดังนั้น จงแต่งงานกับหญิงที่สูเจ้าพอใจ สอง-สาม หรือ สี่ แต่ถ้าสูเจ้าเกรงว่า สูเจ้าจะไม่อาจ
(ให้ความยุติธรรมได้) ดังนั้น (จงแต่งกับหญิง) เพียงคนเดียว  (สูเราะหฺ อัล-นิซอาอ์ อายะฮฺที่ 3)


            ส่วนมัสยิด อะยาศอเฟียที่ถูกมุสตอฟาเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินั้น เดิมทีแล้วโบสถ์ขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นประมาณปี ค.ศ.400 โดยบุตรคนหนึ่งของคอนสแตนตินผู้ยิ่งใหญ่
            หลังจากตุรกีครองอำนาจในคอนสแตนติโนเปิล เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1453 แล้ว ก็ได้เปลี่ยนโบสถ์หลังดังกล่าวให้เป็นมัสญิด และเรียกว่า มัสญิดอะยะศอเฟีย



            สรุปแล้วว่า โบสถ์หลังนั้นถูกเปลี่ยนให้เป็นมัสญิดเป็นระยะเวลานานถึง 518 ปี แต่ทว่าเมื่อ
มุสตอฟา กาล เริ่มมีอำนาจในการปกครองแล้ว เขาจึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างๆของศาสนาแม้กระทั่งมัสญิดอะยาศอเฟียที่โอ่โถงก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทั้งๆ ที่พระราชาและประชาชนโดยทั่วไปได้บริจาคทรัพย์สินเพื่อเก็บไว้เป็นกองทุนในการซ่อมบูรณะมัสญิดหลังดังกล่าวอย่างมากมายก็ตาม
            ไม่เพียงแต่เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วมุสตอฟา กามาล ยังได้ใช้ให้ล้างสีที่ทาภาพที่ได้สลักไว้ที่ข้างฝาด้วย จนทำให้มองเห็นภาพสลักอย่างชัดเจนอีกครั้ง



แนวความคิดปฏิรูปศาสนาของมุสตอฟา กามาล แบบสรุปมีดังนี้

- ยกเลิกระบบสุลตาน และเปลี่ยนให้เป็นระบบประธานาธิบดี
- ศาสนาและประเทศชาติต้องแยกออกจากัน และซัยคุลอิสลามที่ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการนั้นต้องยกเลิกเสีย
- ธรรมนูญของตุรกีที่ว่า ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนั้น ต้องยกเลิกไป
- ศาลต่างๆ ของอิสลาม เช่น ศาลชะรีอะห์ เป็นต้น ต้องยกเลิกเสีย
- โรงเรียนสอนศาสนาจะไม่ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐอีกต่อไป
- อักษรภาษาอาหรับต้องเปลี่ยนเป็นอักษรลาติน
- อัลกุรอานต้องแปลเป็นภาษาตุรกีเท่านั้นและต้องอ่านเป็นภาษาตุรกีเท่านั้น
- การละหมาด การอาซาน การขอดุอา เป็นต้น ต้องใช้ภาษาตุรกี เท่านั้น
- การมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
- อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายนัสรอนีและยะฮูดีได้
- ตัรบูซีซึ่งเป็นหมวกของตุรกีต้องเปลี่ยนเป็นหมวกปีก (คล้ายชาวตะวักตก)
- เสื้อผ้าสตรีที่ยาวๆ ต้องเปลี่ยนเป็นกระโปรงมินิ
- มัสญิดอะยาศอเฟียหลังใหญ่ในอิสตันบูล ต้องเปลี่ยนเป็นพิพิตภัณฑ์สถานแห่งชาติ
- ยกเลิกวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์ ให้เปลี่ยนมาเป็นวันอาทิตย์ แทน ซึ่งคนมุสลิมเข้าใจดีว่าเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ของคริสต์
- ยกเลิกการใช้ปฏิทินอิสลาม
- และอื่นๆ อีกมากมาย



                         มุสตอฟา กามาล มีความเกลียกชังต่ออิสลามและมีความศรัทธามั่นต่ออารยธรรมตะวันตกเขาเป็นสาวกที่ยึดมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระเจ้าองค์ใหม่และเขาเผยแพร่คำว่า อารยธรรมไปกว้างไกล เมื่อพูดถึงอารยธรรมนัยน์ตาของเขาจะเป็นประกายและสีหน้ามีความเร้าร้อน เขาพูดเสมอว่า “เราต้องแต่งตัวให้เหมือนกับคนที่เจริญแล้วเราต้องแสดงตัวว่าเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ เราจะไม่ยอมให้ความโง่เขลาของผู้อื่นมาหัวเราะ เครื่องแต่งกายแบบเก่าของเรา เราต้องเคลื่อนไปตามกาลเวลา”
ในความพยายามที่จะลอกเลียนแบบตะวันตกทำให้เขาต้องวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าชาวเตอร์ยังไม่เปลี่ยนแปลงและพฤติเหมือนอย่างคนยุโรปเขาจึงออกกฏหมายห้ามไม่ให้ชาวเตอร์สวมหมวกแบบตุรกีและเครื่องสวมประดับบนศีรษะทุกชนิดนอกจากหมวกแบบยุโรป การสวมหมวกแบบยุโรปกลายเป็นกฏหมายบังคับใช้ต่อชาวเตอร์ จนกระทั้งเกิดสงครามหมวกขึ้น เพราะความจริงจังในการบังคับสวมหมวกเหมือนกับว่านั้นคือ ปัจจัยแห่งการเป็นสมัยใหม่อย่างแท้จริงอย่างเดียว มีผู้คนบริสุทธิ์ถูกจับแขวนคอจากนโยบายอย่างนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นศาลพิเศษตัดสินอย่างเร่งด่วนทำให้ผู้ที่กระทำผิดและผู้บริสุทธ์ต่างก็เดือดร้อน
ต่อมา กิจการทางศาสนาและตำแหน่งทางศาสนาได้ถูกยกเลิกเช่นกัน ศาสนสมบัติ (อัลเอากอฟ) ตกเป็นของรัฐ โรงเรียนและสถานศึกษาศาสนาถูกเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสามัญตามแบบตะวันตก กฎหมายแพ่งของสวิตเซอร์แลนด์ และกฎหมายอาญาแบบอิตาลี ตลอดจนกฎหมายพาณิชย์ของเยอรมันถูกนำมาใช้ แทนที่กฎหมายชะรีอะห์อิสลาม ศาสนาถูกแยกออกจากการเมือง อักษรภาษาอาหรับ (อารบิก) ถูกยกเลิก และภาษาตุรกี (เตอร์กิช) ก็ถูกเขียนด้วยตัวอักษรละตินเยี่ยงยุโรป การอะซานบอกเวลานมัสการด้วย
ภาษาอาหรับถูกยกเลิก พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านถูกแปลเป็นภาษาตุรกี วันอาทิตย์ถูกำหนดให้เป็นวันหยุดทางราชการแทนวันศุกร์ การสวมหมวกทรงตอรบู๊ช (หมวกทรงกระบอกทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีแดงและพู่ไหมห้อย) การคลุมศีรษะของสตรี (ฮิญาบ) ถูกยกเลิก และปฏิทินสากลแบบชาวยุโรปถูกนำมาแทนที่ปฏิทินอิสลาม (ซึ่งคำนวณตามจันทรคติ) การเปิดรับอารยธรรมตะวันตกและต่างชาติเป็นไปอย่างเต็มที่โดยไม่มีการอนุรักษ์ของเดิมอีกแต่อย่างใด และการมุ่งสู่ความเป็นยุโรป ตลอดจนตัดขาดจากโลกอิสลามโดยสิ้นเชิง และใกล้ชิดตะวันตกเป็นสิ่งที่ไหล่บ่าเข้าสู่ตุรกีนับแต่บัดนั้นจนกึงปัจจุบัน

บทความจากเพื่อนอิสลาม สำนักอัซซาบิกูน

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ราชวงศ์อุษมานิยะฮ์



ในปลายรัชสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ เคาะลีฟะฮเริ่มมีความอ่อนแอ การปกครองเมืองต่าง ๆ ก็เริ่มล้มเหลว กอรปกับเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาซียะฮเกิดมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถ ต่อมาพวกเขาเหล่านั้นได้ประกาศตัวเองเป็นเอกราชจากราชวงศ์อับบาซียะฮ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดรัฐอิสระต่าง ๆ มากมาย เช่น เปอร์เซีย ตุรกี กุดีสถาน เป็นต้น การกำเนิดรัฐอิสระเหล่านี้ย่อมแสดงถึงความล้มเหลว และความอ่อนแอของราชวงศ์อับบาซียะฮ ความอ่อนแอดังกล่าวนี้เองที่เป็นสาเหตุหลักของความปราชัยแก่ทหารมองโกลในเวลาต่อมา


ในปี ฮ . ศ . ที่ 614-633/ ค . ศ . 1217-1265 สมัยการปกครองของอัล มุซตะซิม (al Mustasim) เคาะลีฟะฮคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ ท่านผู้นี้ได้ไว้วางใจ และแต่งตั้งมุอัยยิด อัล - ดีน อิบนุ อัล อัลกอมี (Muayyid al Din Al Alqami) เป็นวะสีร กล่าวกันว่าวะสีรท่านนี้เป็นผู้ที่เลื่อมใสในมัษฮับชีอะฮ การแต่งตั้งมุอัยยิดให้ดำรงตำแหน่งเป็นวะสีรได้นำความขุ่นเคืองมายังอบู บักรบุตรชายของเคาะลีฟะฮมุซตะซิม ต่อมาทหารของอบู บักรภายใต้การนำของดาวาดัร (Dawadar) ได้ทำการสู้รบกับพวกชีอะฮ อันเป็นเหตุให้มุอัยยิดเกิดไม่พอใจและเคียดแค้นต่ออบู บักร ผู้นับถือมัษฮับซุนนี้เป็นอย่างยิ่ง จากความเคียดแค้นในครั้งนี้มุอัยยิดจึงติดต่อกับทหารมองโกล และยุแหย่ให้มองโกลทำสงครามกับทหารมุสลิม ต่อมาสงครามระหว่างทหารมุสลิมกับทหารมองโกลก็เกิดขึ้น สงครามครั้งนี้มุสลิมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เคาะลีฟะฮอัล มุซตาซิม จึงส่งมุอัยยิดไปยังทหารมองโกล เพื่อเจรจาไต่ถามถึงความประสงค์ที่แท้จริงของพวกเขา แต่มุอัยยิดทรยศกลับขอให้ทหารมองโกลภายใต้การนำของฮูลากู (Hulagu) ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของจักพรรดิ์เจงกิสค่านเข้าตีเมืองหลวง ในที่สุดเมืองหลวงก็แตก ฝ่ายเคาะลีฟะฮจึงลี้ภัยไปยังเมืองอิยิปต์ภายใต้รัฐมัลลุก (Mumluk) เมื่อมุสลิมเสียกรุงให้แก่มองโกล ตำราจำนวนมหาศาลที่มุสลิมได้เขียนไว้ในสมัยอับบาซียะฮก็ถูกทำลาย ด้วยเหตุนี้เองความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการในสมัยต่อมาจึงเสื่อมและตกต่ำลง





หลังจากที่เสียกรุงแบกแดดให้แก่ทหารมองโกล มุสลิมตุรกีที่เอเซียไมเนอร์กลับมีอำนาจ ซึ่งต่อมากลุ่มนี้ก็กลายเป็นผู้นำของประเทศมุสลิม การมีอำนาจในการปกครองของมุสลิมในศตวรรษที่ 13 นี้กลายเป็นสาเหตุของการสู้รบระหว่างประเทศมุสลิมกับอาณาจักรไบแซนไทน สงครามระหว่างมุสลิมและอาณาจักรไบแซนไทนนั้นไม่เคยมีใครเป็นผู้ชนะที่เด็ดขาด บางครั้งมุสลิมเป็นฝ่ายชนะบางครั้งก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่กองทัพมุสลิมแห่งตุรกีได้ประกาศสงครามกับอาณาจักรไบแซนไทน แต่มุสลิมกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แม้มุสลิมจะพ่ายแพ้ แต่บางมณฑลของตุรกียังคงมีอำนาจ และต่อมาก็ถือกำเนิดราชวงศ์อุษมานิยะฮ


คำว่า “ อุษมานิยะฮ ” นั้นมาจากนามของผู้ก่อตั้งของราชวงศ์นี้ ผู้มีชื่อจริงว่าอุษมาน อิบนุ เออร์โตริล อิบนุ ซุไลมาน ชะฮ (Uthman Ibn Ertoghril Ibn Sulaiman Shah) เผ่ากอยิด (Qayid) เชื้อสายตุรกี (Yahaya : Halimi, 1994 : 395)


ครั้งหนึ่งซุไลมาน ชะฮ ผู้มีไพร่พล 1,000 นายได้มุ่งหน้าไปยังอนาโตเลีย (Anatolia) ก่อนจะถึงที่หมายท่านได้หยุดพักแรมที่อาเซอร์ไบจัน (Azerbayjan) หลังจากนั้นท่านซุไลมานกลับล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังอนาโตเลีย และตัดสินใจเดินทางกลับไปยังมาฮัน (Mahan) ดินแดนถิ่นกำเนิดของพวกตน แต่ในระหว่างเดินทางกลับท่านได้เสียชีวิต เออร์โตคริล (Ertoghril) บุตรชายของท่านจึงดำรงตำแหน่งผู้นำแทนท่านซุไลมานที่ได้ล่วงลับไป แต่ในครั้งนี้เออร์โคคริลกลับตัดสินใจจะเดินทางไปยังอนาโตเลียอีก โดยไม่ประสงค์จะเดินทางกลับไปยังมาฮัน


เมื่อเออร์โตคริลเดินทางถึงอนาโตเลีย ท่านได้ส่งบุตรชายของท่านไปพบสุลต่านอะลา อัล - ดีน (Ala al Din) เพื่อขออนุญาตอาศัยอยู่ในอนาโตเลีย ความตั้งใจดังกล่าวได้รับการตอบสนองจากอะลา อัล - ดีนเป็นอย่างดี ต่อมาทหารของอะลา อัล - ดีนได้เกิดสู้รบกับทหารของมองโกล เมื่อเออร์โตคริลประสบกับเหตุการณ์เช่นนั้น ท่านก็เข้าร่วมรบให้กับทหารของอะลา อัล - ดีน เพราะท่านถือว่ามองโกลคือศัตรูของอิสลาม การประจันบานในครั้งนั้นฝ่ายอะลา อัล - ดีน และฝ่ายเออร์โตคริลได้รับชัยชนะ ชัยชนะในครั้งนี้ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอะลา อัล - ดีนและเออร์โตคริลแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นดังกล่าวได้ทำให้ทั้งสองฝ่ายร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ตลอดมา


ครั้งหนึ่งทหารของอะลา อัล - ดีนและเออร์โตคริลได้ทำสงครามกับอาณาจักรไบแซนไทนและมุสลิมก็เป็นฝ่ายมีชัย เมืองที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจไบแซนไทนจึงตกอยู่ในเงื้อมมือของทหารมุสลิม ด้วยความดีความชอบของเออร์โตคริล ท่านอะลา อัล - ดีนจึงมอบบางเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจของตนให้กับเออร์โตคริล เมื่อเออร์โตคริลเสียชีวิต อุษมานบุตรชายของท่านก็รับช่วงแทน อุษมานท่านนี้เองที่บรรดานักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์อุษมานมานิยะฮแห่งตุรกี (Yahaya nad Halimi, 1994 : 359)


อุษมานถูกขนานนามว่า “ อัล ฆอสี ” (al Ghazi) ซึ่งหมายถึงนักรบผู้สถาปนาราชวงศ์อุษมานิยะฮแห่งตุรกี เคาะลีฟะฮของราชวงศ์นี้มีทั้งหมด 37 ท่าน ท่านสุดท้ายคือ อับดุลมาญิดที่ 2 (Abd al Majid II) ในสมัยของอับดุลมาญิดที่ 2 ตุรกีได้รับการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐ (Republic) และแต่งตั้งมุศเฏาะฟา กามาล อะตาเตอร์ก (Mustafa Kamal Ata Turk) ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ในสมัยนี้สถาบันสุลต่านได้เสื่อมอำนาจ และเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค . ศ . 1924 สถาบันสุลต่านก็สิ้นสุดลง เคาะลีฟะฮอับดุลมาญิดที่ 2 จึงถือเป็นเคาะลีฟะฮคนสุดท้ายแห่งประวัติศาสตร์อิสลามยุคนี้ ต่อมาการปกครองของประเทศมุสลิมก็เริ่มเป็นแบบตะวันตก สถาบันเคาะลีฟะฮที่เคยยึดถือปฏิบัติมาอย่างช้านานก็เป็นอันยุติลง (Yahaya and Halimi, 1994 : 444) แต่การเคลื่อนไหวเรียกร้องกลับสู่ระบบเคาะลีฟะฮก็มีอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันี้





มื่อราชวงศ์อับบาซียะฮได้เสื่อมสลาย วิชาการที่เคยก้าวหน้ารุ่งเรืองก็เริ่มตกต่ำลง เช่นเดียวกันกับสมัยอุษมานียะฮซึ่งเป็นสมัยที่วิชาการมุสลิมตกต่ำ ตำราต่าง ๆ ที่เขียนไว้ในสมัยอับบาซียะฮ ซึ่งถือเป็นยุคทองทางวิชาการได้ถูกทำลายเป็นจำนวนมหาศาลโดยกองทัพของมองโกล งานเขียนทางวิชาการในสมัยอุษมานียะฮนี้เป็นแบบดั้งเดิม เพราะนักปราชญ์ในสมัยนี้ถือว่าวิชาความรู้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องแสวงหา แต่เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่มีอยู่แล้วในยุคก่อน ๆ (Yahaya and Halimi, 1994 : 416)
ในสมัยนี้วิชาศาสนาและวิชาจริยธรรมถือเป็นวิชาความรู้ที่สูงส่ง เนื่องจากวิชาการเหล่านี้เป็นภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับจึงกลายเป็นภาษาที่มีความสำคัญมาก และกลายเป็นภาษาที่นำมาใช้ในกิจการศาสนาและในศาลสถิตย์ยุติธรรม วิชาการต่าง ๆ ในสมัยดังกล่าวนี้ได้แก่ วิชาวรรณกรรม กวีนิพนธ์ ภูมิศาสตร์ อัตชีวประวัติ เป็นต้น
สาขาวรรณกรรม และกวีนิพนธ์


ในสมัยอุษมานียะฮวรรณกรรม กวีนิพนธ์และบทละครจะเป็นแบบดั้งเดิม ในสมัยนี้ชาวเตอร์กจะมีเพลงพื้นเมืองและนิทานพื้นบ้านเป็นของตนเอง สำหรับบทกวีและเพลงพื้นเมืองนั้นจะเป็นเพลงแบบพวกศูฟี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 14 บทกวีและเพลงแบบศูฟีได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บางครั้งกวีในสมัยดังกล่าวนี้จะมีการนำศัพท์จากภาษาอื่นมาใช้ด้วย อย่างเช่นนักกวีลัทธิหุรูฟิยะฮ (Hurufiyah) กวีกลุ่มนี้จะนำศัพท์ของอนาโตเลียและอาเซอร์ไบจัน มาใช้ในบทกวีของพวกตน และในศตวรรษที่ 16 ฟุสุลี (Fuzuli) ได้นำแสลงจากทั้งสองภาษานี้มาใช้อีก (Yahaya and Halimi, 1994 : 417)
สาขาประวัติศาสตร์


ในสมัยของบายาสิดที่ 1 (Bayazid I) อะหมัด อะชีด ปาชา สาแด (Ahmad Ashid Pasha Zade) ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติของชนชาติตุรกีเป็นเล่มแรก (Yahaya and Halimi, 1994 : 416) แม้ว่าก่อนหน้านั้นได้มีผู้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตุรกีแล้ว แต่งานเขียนเหล่านั้นเป็นภาษาเปอร์เซีย หลังจากศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์อุษมานียะฮแห่งตุรกีก็ได้แต่งตั้งบรรดานักประวัติศาสตร์ เพื่อให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตุรกี ซะอัด อัล - ดีน (Sa ad al Din) เป็นคนหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นมุฟฏีและเป็นผู้พิพากษาทหาร ในศตวรรษที่ 17 ได้ถือกำเนิดนักประวัติศาสตร์ประจำราชสำนัก ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ประจำราชสำนักท่านแรกคือ อับดิ ปาชา (Abdi Pasha) ค . ศ . 1165 ( ส .) (Yahaya and Halimi, 1994 : 416) ต่อมาฮาญี เคาะลีฟะฮ (Haji Khalifah) ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับราชวงศ์อุษมานียะฮได้เขียนตำราทางประวัติศาสตร์เล่มหนึ่ง เป็นตำราประวัติศาสตร์ทหารเรือของราชวงศ์อุษมานียะฮแห่งตุรกี สำหรับประวัติศาสตร์ของท่านศาสดา ( ขอความจำเริญและความสันติดจงมีแด่ท่าน ) นั้นส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมในบรรดาพวกชีอะฮและพวกศูฟี
สาขาภูมิศาสตร์


นักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ได้แก่ ปีรี เรอิส (Piri Reis) ท่านเป็นทหารเรือคนหนึ่งของตุรกี ผู้ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ความรู้ดังกล่าวท่านได้ศึกษามาจากกามิล เรอิส (Kamal Reis) ท่านปีรี เรอิสเป็นผู้ที่มีความสามารถ ตอนที่อยู่ในกาลิโปลี (Galipoli) ท่านได้เขียนแผนที่มหาสมุทรแอตแลนติก แผนที่อเมริกาเป็นต้น (Yahaya and Halimi ; 1994 : 416) แผนที่ดังกล่าวนี้ได้มอบให้แก่สุลต่านซาลิมที่อิยิปต์ ต่อมาได้ถือกำเนิดฮาญี เคาะลีฟะฮ (Haji Khalifah) ท่านผู้นี้เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับราชวงศ์อุษมานียะฮดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ท่านเคยเดินทางไปยังทวีปเอเซีย ท่านผู้นี้นอกจากจะเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ทหารเรือของตุรกีแล้วท่านยังเป็นผู้ที่แปลหนังสือ “Atlas Minor” ที่เขียนโดยเมอร์เคเตอร์ (Mercator) และฮอนดีอูส (Hondius) นอกจากนั้นท่านได้เขียนแผนที่โลกโดยใช้ชื่อว่า “World Survey” แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ท่านเสียชีวิตก่อนที่แผนที่เล่มนี้จะเสร็จสมบูรณ์



ในสมัยดังกล่าวนี้วิชาการของโลกมุสลิมตกต่ำมา บรรดามุสลิมที่มีสติปัญญาดีจะถูกส่งไปยัง ยุโรป ดังเช่น อิบรอฮีม ชีนาซี (Ibrahim Shinasi) นักศึกษาของราชวงศ์อุษมานียะฮที่มีความปราดเปรื่อง ท่านถูกส่งไปยังประเทศฝรั่งเศส (Yahaya and Halimi ; 1994 : 444) ท่านผู้นี้ได้ศึกษาวิชาวรรณกรรม ซึ่งต่อมาท่านได้กลายเป็นนักวรรณกรรม นักข่าวและนักแปลที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของตุรกี แม้สมัยนี้จะเป็นสมัยที่วิชาการของมุสลิมตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาการทางโลก แต่ในสมัยนี้ก็ยังถือกำเนิดสถาบันการศึกษาและโรงเรียนจำนวนมากมายเช่น โรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งชายและหญิง มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังถือกำเนิดสถาบันเวชกรรมศาสตร์และโรงเรียนกฎหมาย (Yahaya and Halimi , 1994 : 444) สาขาวิชาที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ได้แก่ สาขาวรรณกรรม ภาษาศาสตร์ เป็นต้น


วรรณกรรมและภาษาศาสตร์


ในปี ค . ศ . 1971 สียา ปาชา (Ziya Pasha) ได้เขียนสกริปต์ละครปลุกศรัทธา เพื่อปลูกฝังให้ชาวตุรกีปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย ละครเรื่องนี้ได้สร้างความรู้สึกความเป็นชาตินิยมตุรกี นอกจากนี้อะหมัด มิฎอท (Ahmad Midat) ก็เขียนเรื่อง “ หนึ่งปีในอิสตันบลู ” (A Year in Istanbul)


ในปลายรัชสมัยราชวงศ์อุษมานียะฮภาษาตุรกีเริ่มมีบทบาท ซามิ ฟราเชอรี (Sami Frasheri) เป็นผู้ที่มีความรู้ภาษาตุรกี ท่านได้พยายามใช้ศัพท์ตุรกีแทนภาษาอาหรับและเปอร์เซีย กอปรกับในสมัยนี้วรรณกรรมตะวันตกได้คลืบคลานเข้ามายังตุรกีจนทำให้วรรณกรรมอาหรับเริ่มสั่นคลอน แต่ในเวลาต่อมาได้ถือกำเนิดนักวรรณกรรมมุสลิมที่พยายามจะฟื้นฟูวรรณกรรมอาหรับอีกครั้ง เช่น อัล - นับฮานี (al Nabhani) นักวรรณกรรมแห่งซีเรีย อับดุลหามิด (Abd al Hamid) ท่านผู้นี้ได้พยายามฟื้นฟูวรรณกรรมอาหรับเช่นเดียวกันกับอัล - นับฮานี ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องการเข้ามีอิทธิพลของวรรณกรรม คริสเตียนจากตะวันตก (Yahaya and Halimi , 1994 : 445)


ในด้านกวีนิพนธ์ก็ถือกำเนิดนักกวีที่โดดเด่นคนหนึ่งชื่อ ซามิ บารูดี (Sami Barudi) ท่านผู้นี้ได้เขียนกลอนแบบอับบาซียะฮโดยมีเนื้อหาต่อต้านอังกฤษ ต่อมาท่านถูกเนรเทศไปยังเซลอน ( Ceylon ) อะหมัด เชากี (Ahmad Shawqi) ท่านผู้นี้เป็นนักวรรณกรรมคลาสสิกที่ต่อต้านอังกฤษซึ่งต่อมาถูกเนรเทศไปยังสเปน (Yahaya and Halimi , 1994 : 445)


วารสารศาสตร์


ในสมัยนี้ตุรกีเริ่มมีหนังสือพิมพ์และวารสารเป็นของตนเอง หนังสือพิมพ์และวารสารดังกล่าว ได้แก่


1. หนังสือพิมพ์รายวันตักวีมี เวกออี (Taqvimi Veqai) ค . ศ . 1831


2. วารสารตัซวีรี เอฟคยาร์ (Tasviri Efkyar) ค . ศ . 1862 และเตอร์ญูมานี อะหวาล (Terjumani Ahwal) ค . ศ . 1860


นอกจากสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น สาขาวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญมิอาจจะละเลยได้คือสาขาวิชาศาสนา ในด้านศาสนามุสลิมได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของญะมาล อัล - ดีน อัล อัฟฆอนี (Jalal al Din Afgani) และมุฮัมหมัด อับดุฮ (Muhammad Abduh)


สถาบันการศึกษา


1.มักตับ อัล-ศิบยาน


เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับต้นหรือระดับประถมศึกษา สถาบันแห่งนี้บางครั้งจะถูกเรียกว่า ดาร อัล-ตะอลีม หรือดาร อัล หุฟฟาษ(ดลมนรรจน์ และมูหัมมัดรอฟลีม,2542)


2.มัดระซะฮ


เป็นสถาบันการศึกษาที่บทบาทมาก ผู้ที่สร้างมัดระซะฮแห่งแรกของราชวงค์อุษมานียยะฮคือซุลฏอนอรฮันในปีค.ศ.1130 (ดลมนรรจน์ และมูหัมมัดรอฟลีม,2542)


3. โรงพยาบาล


โรงพยาบาลได้กลายเป็นสถาบันการศึกษาสถาบันหนึ่งในสมัยราชวงค์อับบาซียะฮ และในสมัยราชวงค์อุษมานียะฮโรงพยาบาลก็เป็นสถาบันการศึกษาสถาบันหนึ่งที่มีการเรียนการสอนวิชาการแพทย์ ผู้ที่สร้างโรงพยาบาลแห่งแรกในสมัยอุษมานียะฮคือซุลฏอนบายาสิดที่ 1 (ค.ศ. 1360-1403)


นอกจากสถาบันการศึกษาข้างต้น ก็ยังมีสถาบันการศึกษาอื่นอีกเช่น มัสยิด ห้องสมุด ราชวัง บ้านของผู้รู้ และที่พักของพวกศูฟี เป็นต้น

ราชวงศ์ฟาฏิมิยะฮฺ



อุบัยดุลลอฮ อัล มัฮดี (Ubaidulah al Mahdi) เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ฟาฏิมียะฮที่ตูนีเซีย เมื่อ ฮ . ศ . 297/ ค . ศ . 909 ต่อมาก็ย้ายมาอยู่ที่อียิปต์ อุบัยดุลลอฮเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากครอบครัวของท่านศาสดาซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “ อะฮลุล บัยต ” (Ahlul Bait) ท่านได้สืบเชื้อสายจากบุตรีของท่านศาสดา ( ขอความจำเริญและความสันติจงมีแด่ท่าน ) ที่มีชื่อว่าฟาฏิมะฮ ดังนั้นราชวงศ์นี้จึงถูกขนานนามว่า “ ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ ” ราชวงศ์นี้ถือเป็นราชวงศ์เล็ก ๆ ที่ประกาศตัวเป็นอิสระจากเคาะลีฟะฮของราชวงศ์อับบาซียะฮแห่งแบกแดด ผู้นำราชวงศ์ฟาฏิมียะฮจะเรียกตัวเองว่า “ เคาะลีฟะฮ ” เช่นเดียวกับผู้นำของราชวงศ์อับบาซียะฮ ดังนั้นในสมัยนี้จึงถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อิสลามที่โลกมุสลิมมีสองเคาะลีฟะฮ ต่อมาอับดุลเราะหมานที่ 3 แห่งสเปนก็ขนานนามตัวเองว่า “ เคาะลีฟะฮ ” อีกท่านหนึ่ง


ในสมัยของอัล มุอิส บิลลาฮ (al Muiz bi Allah) ฮ . ศ . 341/953 เคาะลีฟะฮคนที่ 4 แห่งราชวงศ์ฟาฏิมียะฮผู้มีศักดิ์เป็นแหลนของอุบัยดุลลอฮ ท่านได้ส่งรี้พลจำนวนมหาศาลไปยังอียิปต์ ภายใต้การนำทัพของเญาวฮัร (Jawhar) เมื่อวันที่ 17 ชะอบาน ฮ . ศ . 358 ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม ค . ศ . 969 อียิปต์ก็ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ ต่อมาในปี ฮ . ศ . ที่ 362 / ค . ศ . 973 เคาะลีฟะฮมุอีสได้ย้ายเมืองหลวงจากตูนีเซียมายังอียิปต์ และได้สร้างเมืองใหม่ที่อียิปต์ นั้นคือ กอฮิเราะฮ ( ไคโร ) ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารแผ่นดินของราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ หลังจากที่ย้ายเมืองหลวงจากตูนีเซียมาอยู่ที่อียิปต์ ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮได้ครอบครองดินแดนต่าง ๆ เช่น ซีเรีย เลบานอน และในสมัยนี้เองที่ถือเป็นยุคทองของราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ และในยุคนี้เช่นกันที่มหาวิทยาลัย อัล อัสฮัร (Al Azhar) ได้รับการสถาปนา มหาวิทยาลัยอัล อัสฮัรแห่งนี้ถือเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่สร้างขึ้นเมื่อปีฮิจญเราะฮศักราชที่ 359/ ค . ศ . 970 โดยมีเญาฮัรเป็นผู้ควบคุมดูแลในการก่อสร้าง (Yahaya and Halimi, 1994 : 332)


ในสมัยของอัล อะดีด (al Adid) เคาะลีฟะฮคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ ท่านเป็นผู้นำที่อ่อนแอ กอรปกับในสมัยดังกล่าวได้เกิดการแย่งชิงตำแหน่งวะสีร (wazir) ชาวัร (Shawar) เป็นคนหนึ่งที่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งเป็นวะสีร แต่ต้องประสบกับความผิดหวัง จากความล้มเหลวในครั้งนี้ ท่านจึงเดินทางไปยังซีเรียเพื่อขอความช่วยเหลือจากนุร อัล - ดีน สังกี (Nur al Din Zanki) ผู้ครองเมืองซีเรียในสมัยนั้น นูร อัล - ดีน สังกีจึงส่งทหารไปยังอียิปต์ ผู้นำทัพในครั้งนี้คือ ชิรกุฮ (Shirquh) ต่อมาได้เกิดสงครามระหว่างทหารของชิรกุฮกับกองทหารฟาฏิมียะฮ สุดท้ายชิรกุฮได้รับชัยชนะ จากชัยชนะในครั้งนี้ทำให้ชาวัรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวะสิรของอียิปต์สมดังความตั้งใจ


ต่อมาทหารครูเสดได้ทำสงคามกับอียิปต์ ซึ่งเป็นเหตุทำให้นูร อัล - ดีน สังกีตัดสินใจส่งทหารไปร่วมรบให้กับอียิปต์ ผู้นำที่เข้าร่วมสงครามในครั้งนี้คือ ชิรกุฮ และเศาะลาห อัล - ดีน อัล อัยยูบี (Salah al Din al Ayyubi)


ต่อมาเมื่อชิรกุฮได้เสียชีวิต ตำแหน่งแม่ทัพของท่านก็มอบให้แก่เศาะลาห อัล - ดีน อัล อัยยูบี เมื่อเคาะลีฟะฮ อัล อะดีดสิ้นพระชนม์เมื่อ ค . ศ . 1171 เศาะลาห อัล - ดีนก็กลายเป็นผู้ปกครองของอียิปต์ และได้สถาปนาราชวงศ์อัยยูบิยะฮ โดยอยู่ภายใต้เคาะลีฟะฮของราชวงศ์อับบาซียะฮแห่งแบกแดด (Yahaya and Halimi, 1994 : 334) หลังจากเศาะลาห อัล - ดีนกลายเป็นผู้นำของอียิปต์ ท่านได้พยายามเปลี่ยนมัษฮับของปวงประชาราษฎร์จากมัษฮับชีอะฮให้มานับถือมัษฮับซุนนี

ราชวงศ์ฟาติมียะฮฺ ทรยศ



 นูรุดดีน อัซซิงกีย์ ส่งตัวแทนไปอียิปต์(ราชวงศ์ฟาติมียะฮฺ)เพื่อขอให้ร่วมมือกันในการพิชิตครูเสด ผู้ปกครองฟาติมีย์ตอบรับ แต่กลับหักหลังด้วยการไปขอทำสัญญาพันธมิตรหรือสันติภาพกับพวกครูเสด แต่สุดท้ายก็ผู้ปกครองราชวงศ์ฟาติมียะฮฺ(หรือชีอะฮฺ)ก็ถูกสังหารโดยท่านศอลาฮุดดีน โทษฐานที่คิดหลักหลังประชาชาติอิสลามเพื่อไปร่วมมือกับพวกครูเสด

ราชวงค์อุมัยยะฮ์

 ราชวงค์อุมัยยะฮ์ (The Umayyad Dynasty)




          ราชวงค์ ราชวงค์อุมัยยะฮ์   อยู่ระหว่างปี ฮ.ศ.  41-132  หรือ  ค.ศ.661-750  ศูนย์กลางการปกครอง อยู่ที่ เมือง "ชาม"


  
         หลังจากท่านอาลี เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูน คนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้


          มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูล อุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ” ในสมัยการปกครองของราชวงค์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืนสันติวงค์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงค์อุมัยยะฮ์ ทั้งราชวงศ์อับบาสียะฮ์และอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า    ท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืนสันติวงค์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อนๆก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช


          ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้มีเคาะลีฟะฮ์ทั้งหมด 14 องค์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ปี ฮ . ศ . 41-132 หรือ ค . ศ . 661-750 มีอาณาเขตการปกครองครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ


1 ทวีปเอเชียไปถึงเมืองจีน และเมืองกาบูล ซึ่งพิชิตโดยมูฮำหมัด บิน กอซิม


2. ทวีปยุโรป ไปถึงเมืองอันดาลุส ประเทศสเปนในปัจจุบัน ซึ่งพิชิต โดย ตอริก บิน ซียาด


3. ทวีปแอฟริกา ไปถึง ประเทศที่ติดอยู่กับทะเลแอตแลนติก


          โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชามหรือประเทศซีเรียในปัจจุบัน เมื่อได้ขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะฮ์แล้วท่านมุอาวิยะฮ์ก็ได้อุทิศตนให้แก่การทำให้อาณาจักรอิสลามผนึกเข้าเป็นปึกแผ่นเรียกร้องความสามัคคีในชาติ ซึ่งแตกสลายและไร้ความสงบสุขมาตั้งแต่ท่านเคาะลีฟะฮ์อุษมานถูกฆาตกรรม เมื่อตั้งตัวได้สำเร็จแล้วท่านมุอาวิยะฮ์เริ่มหาทางพิชิตดินแดนอื่นๆ สานต่อจากเคาะลีฟะฮ์ในอดีต


            ท่านมุอาวิยะฮ์เป็นผู้บริหารที่ดี เป็นท่านแรกที่จัดตั้งกรมสารบรรณ (Diwan al-Khatam) และกรมไปรษณีย์ขึ้น จัดตั้งกองกำลังตำรวจและกองทหารองครักษ์ แต่งตั้งเจ้าเมืองให้ทำการบริหารส่วนท้องถิ่นและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้เป็นผู้บริหารเงินรายได้ของแผ่นดิน เมื่อท่านมุอาวิยะฮ์สิ้นชีพในปี ค . ศ . 680 ท่านยะซิดขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะฮ์ หลังจากยะซิดสิ้นพระชนม์มุอาวิยะฮ์ที่ 2 โอรสของยะซิดได้ขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะฮ์ต่อ แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็สละตำแหน่งและสิ้นชีวิตไปในเวลาต่อมา ท่านมุอาวิยะฮ์ที่ 2 ไม่มีโอรสและไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นรัชทายาท ฝ่ายราชสำนักจึงแต่งตั้งท่านมัรวาน อิบนุ อิลหากัม เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านที่ 4 แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมัรวานครองราชย์อยู่ได้ไม่ถึงปีก็สิ้นพระชนม์และได้แต่งตั้งโอรสชื่ออับดุลมาลิกเป็นเคาะลีฟะฮ์ต่อไป 
  

         เมื่ออับดุลมาลิก ( ค . ศ . 685 – 705) สามารถปราบปรามกลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อตนเองได้เสร็จสิ้นแล้ว ท่านได้เริ่มงานบูรณะความเป็นระเบียบภายในราชอาณาจักรอิสลาม ได้ทำการปฏิรูปและนำเอามาตรการการบริหารแผ่นดินใหม่ๆ มาใช้ ปฏิรูปเหรียญอาหรับใหม่ ทั้งเหรียญเงินและเหรียญทองแดง ซึ่งมีชื่อว่าดินาร์ ดิรฮัมและฟอล นอกจากนี้ในรัชสมัยของท่านได้มีการปฏิรูปภาษาอาหรับโดยการนำเอาสระและเครื่องหมายจุดใส่ลงในตัวอักษรอย่างที่เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ เคาะลีฟะฮ์อับดุลมาลิกสิ้นพระชนม์ในปี ค . ศ . 705 หลังจากครองราชย์ได้ 21 ปี




            เมื่ออับดุลมาลิกสิ้นพระชนม์ วะลีดที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสก็ขึ้นครองราชย์ในดามัสกัส ท่านวะลีดที่ 1 นับเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งของโลกมุสลิม ในรัชสมัยของท่าน ( ค . ศ . 705–715) อาณาจักรอิสลามมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในและนอกประเทศ ท่านได้ปราบปรามการแข็งข้อของพวกชีอะฮ์และคอวาริจญ์จนราบคาบลง ราชอาณาจักรเต็มไปด้วยความสงบสันติ ได้ขยายอาณาจักรอิสลามออกไปอย่างกว้างขวาง เมืองบุคอรอ สมรขันฑ์ เมืองสินธ์ เอเชียกลางทั้งหมด แอฟริกาและสเปนต่างตกอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรอิสลาม อาณาจักรของท่านขยายจากชายแดนจีนไปจนถึงอ่าวบิสเคย (Biscay) และจากทะเลโอรอล (Oral Sea) ไปจนถึงเขตแดนกุจญ์ราตและบอมเบย์ในอินเดีย


         ท่านได้สร้างโรงเรียนและโรงพยาบาล จัดหาเงินช่วยเหลือคนชราและคนพิการ จัดให้มีโรงพยาบาลคนตาบอดโดยเฉพาะ ในรัชสมัยนั้นศิลปะและวัฒนธรรมเริ่มเจริญรุ่งเรือง ท่านเป็นนักสร้างที่ยิ่งใหญ่ ได้บูรณะและขยายมัสยิดแห่งมะดีนะฮ์และมัสยิดอัลอักซอในเยรูซาเล็ม  พัฒนาการค้าให้เจริญรุ่งเรืองและปลอดภัย


         


           นับได้ว่ารัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์วะลีดที่ 1 ราชอาณาจักรอิสลามมีความสงบรุ่งเรืองและเจริญก้าวหน้ามากกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา เมื่อเคาะลีฟะฮ์วะลีดพี่ชายสิ้นชีพลง ท่านสุไลมานได้ขึ้นครองราชย์ เป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มีเมตตาต่อสหายแต่โหดร้ายต่อศัตรูมีชื่อเสียงในเรื่องฮาเร็มและการมีชีวิตอย่างหรูหรา ในรัชสมัยของพระองค์ ไม่มีอะไรที่เป็นคุณประโยชน์ที่โดดเด่นต่อราชอาณาจักรอิสลามมากนัก คุณประโยชน์อย่างเดียวที่ท่านทำให้แก่รัฐอิสลามคือการแต่งตั้งให้ลูกพี่ลูกน้องของท่านที่ชื่อว่าอุมัร อิบนุ อัลอะซีซ เป็นเคาะลีฟะฮ์ ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของอาณาจักรอิสลาม ท่านสุไลมาน สิ้นชีพหลังจากที่เป็นเคาะลีฟะฮ์ได้ 2 ปีกับอีก 5 เดือน




           ท่านอุมัรอิบนุ อัลอะซีซ ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์ในปี ค . ศ . 717 ท่านเป็นอนุชาของอับดุลมาลิก บิดาของท่านเป็นผู้ปกครองอียิปต์มาเป็นเวลานานและมารดาของท่านเป็นหลานปู่ของเคาะลีฟะฮ์ อุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏอบ ท่านเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนาเป็นอย่างมาก บริหารอาณาจักรอิสลามอย่างยุติธรรมจนได้สมญานามว่า เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูนคนที่ 5 ท่านพยายามจำกัดความไม่เสมอภาคระหว่างมุสลิมชาวอาหรับกับมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ นอกจากนี้ท่านอุมัรได้ทรงแต่งตั้งบุคคลสำคัญๆ ขึ้นครองตำแหน่งสูงๆ โดยเลือกเอาผู้ที่เที่ยงธรรมและซื่อตรงเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขแก่เหล่าประชาราษฎร์ที่อยู่ใต้ปกครอง


              ท่านเห็นความสำคัญในการทำนุบำรุงดินแดนที่ได้มาครอบครองแล้วให้เจริญรุ่งเรืองมากกว่าที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างไกลออกไปอีก ผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่งของท่านอุมัร คือ การรวบรวมหะดีษอย่างเป็นทางการ ตลอดการปกครองของท่านอุมัรประชาชนในราชอาณาจักรอิสลามทั้งชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมต่างก็มีความสุขและได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมกันทั่วหน้า

ราชวงค์อับบาสิยะฮ์

ราชวงค์อับบาสิยะฮ์    ระหว่างปี ฮ.ศ.132-656  หรือ ค.ศ. 749-1258  ศูนย์กลางการปกครองอยู่ทีแบกแดด




          หลังจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ถูกโค่นล้ม ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ก็ขึ้นมาครองราชย์แทน คำว่าอับบาสียะฮ์ มาจากชื่อของท่านอับบาส บุตร อับดุลมุฎฎอลิบ บุตร ฮาชิม ซึ่งเป็นน้าชายของท่านศาสดามุฮัมมัด  บางครั้งเรียกว่าเชื้อสายฮาชิมีย์


          ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ได้ย้ายเมืองหลวงจากชามมายังเขตอิรักในแบกแดด ราชวงศ์อับบาสียะฮ์แห่งแบกแดดเรืองอำนาจตั้งแต่ ค . ศ . 750-1258 ซึ่งมีระยะเวลาการครองราชย์ยาวนานเป็นลำดับที่สองรองจากราชวงศ์ออตโตมาน ราชวงศ์อับบาสียะฮ์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์อิสลามและประวัติศาสตร์โลกโดยรวม เพื่อสะดวกในการศึกษาประวัติศาสตร์ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ได้แบ่งยุคประวัติศาสตร์อับบาสียะฮ์ออกเป็นสองยุคใหญ่ๆ คือยุคต้นและยุคปลาย


          ยุคต้น หมายถึง ตั้งแต่เริ่มแรกการสถาปนาราชวงศ์อับบาสียะฮ์ในปี ฮ . ศ . 132 / ค . ศ . 750 จนถึงปี ฮ . ศ . 232 / ค . ศ . 847 ซึ่งรวมระยะเวลาการปกครองประมาณหนึ่งศตวรรษ ส่วนยุคปลายหมายถึง ตั้งแต่ปี ฮ . ศ . 232 / ค . ศ . 847 จนถึงพวกมงโกลเข้ามายึดครองเมืองแบกแดดหรือการสิ้นพระชนม์ของเคาะลีฟะฮ์อับดุลลอฮ์ อัลมุอ์ตะซิมบิลลาฮ์ในปี ฮ . ศ . 656 / ค . ศ . 1258 ซึ่งรวมระยะเวลาการปกครองประมาณ 424 ปี




ในยุคปลายของราชวงศ์อับบาสียะฮ์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ช่วงดังนี้


     1. ช่วงชาวเตอร์กเรืองอำนาจ คือระหว่างปี ฮ . ศ . 232-334 / ค . ศ . 847-946 รวมระยะเวลาประมาณ 102 ปี ช่วงดังกล่าวนี้ชาวเตอร์กมีบทบาทมากในการกำหนดทิศทางทางการเมืองการปกครองและการทหารของราชวงศ์อับบาสียะฮ์


     2. ช่วงพวกบูไวยฮ์เรืองอำนาจ คือระหว่างปี ฮ . ศ . 334-447 / ค . ศ . 946-1055 รวมระยะเวลา 113 ปี ในช่วงนี้อำนาจทางการเมืองและการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮ์ตกอยู่ในมือของพวกบูไวยฮ์ซึ่งเป็นชีอะฮ์


     3. ช่วงเซลจูลเรืองอำนาจ คือระหว่างปี ฮ . ศ . 447-530 / ค . ศ . 1055-1136 รวมระยะเวลา 83 ปี ในช่วงนี้อำนาจทางการเมืองของราชวงศ์อับบาสียะฮ์ถูกควบคุมโดยพวกเซลจูกซึ่งเป็นสุนนีย์ที่เข้ามาโค่นอำนาจของพวกบูไวยฮ์ซึ่งเป็นชีอะฮ์


      4. ช่วงสุดท้ายและล่มสลาย คือระหว่างปี ฮ . ศ . 530-656 / ค . ศ . 1136-1258 ซึ่งเป็นช่วงที่พวกเซลจูกกำลังเสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันมีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูอำนาจของอับบาสียะฮ์ใหม่ แต่ก็ถูกคุกคามโดยอำนาจใหม่แห่งราชวงศ์มงโกลจนล่มสลายไปในที่สุด ช่วงนี้มีระยะเวลาการปกครองประมาณ 126 ปี


          ราชวงศ์อับบาสียะฮ์แห่งแบกแดดมีเคาะลีฟะฮ์ปกครองรวมทั้งหมด 37 ท่าน ในช่วง 3 ศตวรรษแรกของการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮ์ อาณาจักรอิสลามมีความเจริญก้าวหน้ามากทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การศึกษา สังคมและเศรษฐกิจ จนได้รับขนานนามว่าเป็นยุคฟื้นฟูแห่งอิสลาม


           สมัยการปกครองของราชวงค์อับบาสียะฮ์ เป็นสมัยของการสร้างความเป็นเอกภาพและความรุ่งเรืองสูงสุด มีการขยายอนาเขตการปกครองมากขึ้น คือ ทางทิศตะวันตกอิสลามเผยแพร่ถึงแอฟริกาเหนือ สเปน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกอิสลามเผยแพร่ถึง ฝั่งเปอร์เซียและอินเดีย โดยอยู่ภายใต้การปกครองของเคาะลีฟะฮ์ ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่แบกแดด 
 http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1346

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อัลอันดะลุสยุคหลายก๊ก (อัตตอวาอิฟ) และการแตกแยกออกเป็นรัฐอิสระ

ในปีฮ.ศ.400/คศ.1010 แคว้นอัลอันดะลุสเกิดการแตกแยกแต่ละก๊ก (ตออิฟะฮฺ) หรือตระกูลที่มีอิทธิพลต่างก็ประกาศแยกตนเป็นอิสระในหัวเมืองต่างๆ เป็นจำนวนถึง 22 รัฐโดยฉวยโอกาสความอ่อนแอและการขัดแย้งกันเองของพวกอัลอุม่าวียะฮฺ ช่วงระยะเวลาแห่งความมืดมนก็เริ่มต้นขึ้นในประวัติศาสตร์ของอัลอันดะลุส รัฐอิสระเหล่านี้ ได้แก่

บะลันซียะฮฺ (Valencia)
* อัลมุบารอกและอัลมุซอฟฟัรประกาศแยกตนเป็นอิสระในนครบะลัยซียะฮฺ (Valencia)

ดานียะฮฺและอัลบิลฺยารฺ (Denia)
* มุญาฮิด อัลอามิรีย์ ผู้สืบเชื้อสายจากอัลฮาญิบ อัล มันซูร ได้ประกาศแยกตนเป็นอิสระในเมืองดานียะฮฺและหมู่เกาะอัลบิลยารฺ ทางตะวันออกของอัลอันดะลุส



อัรกุช (Arcos dela Frontera)
* ตระกูลค็อซฺรูน ได้ประกาศแยกตนเป็นอิสระในเมืองเล็กๆ ที่ชื่อ อัรกุช (Arcos)



อัลบุนต์
* อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลกอซิม ตั้งตนเป็นอิสระในเมืองเล็กๆ ที่ชื่อ “อัลบุนต์”



นครโคโดบาฮฺ (Cordova)
* ในปีฮ.ศ.403/คศ.1014 สุลัยมาน อิบนุ อัลหะกัม อิบนิ สุลัยมาน อิบนิ อับดิรเราะฮฺมาน อันนาซิรได้ก่อการกบฏต่อค่อลีฟะฮฺฮิชาม อัลมุอัยยัด บิลลาฮฺ โดยฉวยโอกาสในช่วงที่เกิดความระส่ำระส่ายในหัวเมืองต่างๆ ของอัลอันดะลุส และเข้ายึดอำนาจในนครหลวงโคโดบาฮฺ และปลดค่อลีฟะฮฺฮิชามออกจากตำแหน่ง



วัลบะฮฺ (Huelva)
* ตระกูลอัลบักรีย์ ก่อการกบฏต่อนครหลวงโคโดบาฮฺและประกาศแยกตนเป็นอิสระในเมืองวัลบะฮฺ



ฆอรนาเฏาะฮฺ (Granada)
* ซาดีย์ อิบนุ ซีรีย์ ชาวเบอร์เบอร์ก่อการกบฏและปกครองฆอรนาเฏาะฮฺเป็นรัฐอิสระ



ซานตา มารีอาซันตะมะรียะฮฺ (Santa Mariah)
* ฮุซัยล์ อิบนุ อับดิลมะลิก ตั้งตนเป็นอิสระและกุมอำนาจการบริหารในเมืองซันตะมะรียะฮฺ



มูรูรฺ (Moron)
* ตระกูลตะซีรีย์ ประกาศแยกตนเป็นอิสระในเมือง  ”มูรูรฺ” ทางตอนใต้ของอัลอันดะลุส



มัรซียะฮฺ (Murcia)
* คอยฺรูน อัลอามิรีย์ ญาติของอัลฮาญิบ อัลมันซูรประกาศแยกตนเป็นอิสระในเมืองมัรซียะฮฺ



การปกครองในนครโคโดบาฮฺได้ตกต่ำลงภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี (ฮ.ศ.399-400) และแคว้นอัลอันดะลุสก็แตกออกเป็นเสี่ยงๆ สถานการณ์เลวร้ายและดำดิ่งสู่เหวมากขึ้นเป็นลำดับ



ปี ฮ.ศ.405 / คศ.1015

กอรฺมูนะฮฺ (Carmona)
* อบู มุฮำหมัด อิบนุ บุรซฺ ประกาศตั้งตนเป็นอิสระและกุมอำนาจในเมืองกอรฺมูนะฮฺแต่เพียงผู้เดียว



อัลมะรียะฮฺ (Almeria)
* คอยฺรูน อัลอามิรีย์ผู้ครองรัฐอิสระในเมืองมัรซียะฮฺได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองเมืองอัลมะรียะฮฺ



รินดะฮฺ (Ronda)
* ตระกูลยัฟฺรูนฺได้แยกตนเป็นอิสระในเมืองรินดะฮฺ



ในปีฮ.ศ.407/คศ.1017 อะลี อิบนุ ฮัมฺมูดฺ จากพวกอะดาริซะฮฺ ได้ก่อการกบฏต่อค่อลีฟะฮฺสุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺ และปลดค่อลีฟะฮฺ ต่อมา อะลี อิบนุ ฮัมมูดก็รับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเฉลิมพระนามว่าอันนาซิร บิลลาฮฺ ในปีเดียวกัน อัลกอซิม อิบนุ ฮัมมูดฺได้ก่อการกบฏต่อค่อลีฟะฮฺ อันนาซิรฺ บิลลาฮฺผู้เป็นพี่ชาย และสามารถปลงพระชนม์ค่อลีฟะฮฺได้และเข้ารับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ เฉลิมพระนามว่า อัลมะอฺมูน แต่ทว่ายะฮฺยา อิบนุ อะลี อิบนิ ฮัมมูด ก็สามารถแย่งชิงอำนาจจากอาของตนและกุมอำนาจในนครโคโดบาฮฺ



ซัรกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza)
* ในปีฮ.ศ.408/คศ.1018 อัลมุนซิร อิบนุ ยะฮฺยา อัตตุญัยบีย์ได้ประกาศแข็งเมืองต่อนครโคโดบาฮฺและแยกตนเป็นอิสระในเมืองซัรกุสเฏาะฮฺ



ในปีฮ.ศ.412/คศ.1021 อับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ ฮิชาม อิบนิ อัลดิลญับบารฺ อิบนิ อับดิรเราะฮฺมาน อันนาซิรฺ สามารถชิงอำนาจกลับสู่ราชวงศ์ อัลอุม่าวียะฮฺอีกครั้งและยุติอำนาจของตระกูลฮัมมูด ซึ่งมีอำนาจนับแต่ปีฮ.ศ.407-412 อับดุรเราะฮฺมาน ได้ตั้งตนเป็นค่อลีฟะฮฺเฉลิมพระนามว่า อัลมุสตัซฺฮิรฺ บิลลาฮฺในนครโคโดบาฮฺ



บัฏลิอุส (Badajoz)
* อับดุลลอฮฺ อิบนุ มุฮำหมัด ได้แยกตนเป็นอิสระในเมืองบัฏลิอุส ในปีฮ.ศ.413/คศ.1022



อิชบีลียะฮฺ (Sevilla)
* มุฮำหมัด อิบนุ อิสมาอีล อิบนิ อับบาด กอฎีย์ (ผู้พิพากษา) ในเมืองอิชบีลียะฮฺ ได้ตั้งตนเป็นอิสระในปีฮ.ศ.414/คศ.1023



นับละฮฺ (ลับละฮฺ) (Niebla)
* อะหฺหมัด อิบนุ ยะฮฺยาเข้ายึดอำนาจและประกาศแยกตนเป็นอิสระในเมืองนับละฮฺ



ในปีฮ.ศ.414/คศ.1033 มุฮำหมัด อิบนุ อับดิรเราะฮฺมาน อิบนิ อุบัยดิลลาฮฺ อิบนิ อับดิรเราะฮฺมาน อันนาซิร ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ เฉลิมพระนามว่า อัลมุสตักฟีย์ บิลลาฮฺ ค่อลีฟะฮฺผู้นี้เป็นผู้หมกมุ่นอยู่กับการละเล่น ความเกียจคร้านและตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำ ไร้ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดินทำให้พวกอัลอุม่าวียะฮฺ และชาวเมืองโคโดบาฮฺก่อการลุกฮือและปลงพระชนม์พระองค์



ค่อลีฟะฮฺผู้นี้คือ บิดาของนักกวีสตรีนามว่า วิลาดะฮฺ ที่โด่งดังในอัลอันดะลุส บรรดานักกวีทั้งหลายต่างก็หลงใหลในตัวนางและบทกวีของนาง ส่วนหนึ่งคือนักกวีผู้เลืองนาม อิบนุ ซัยดูนฺและอิบนุ อับดูซ, กวีบทหนึ่งที่อิบนุ ซัยดูนฺ ประพันธ์ถึงวิลาดะฮฺ หญิงรักของตนคือ

“ฉันคะนึงถึงเธอ ณ อัซซะอฺรออฺโดยถวิลหา      และขอบฟ้าเบิกบานแลหน้าปฐพีช่างสดใส”



ในปีฮ.ศ.416/คศ.1025 ตระกูลฮัมดูนได้ฉวยโอกาสการลุกฮือระหว่างพวกอัลอุม่าวียะฮฺก่อการกบฏซ้อนและเข้ายึดครองนครโคโดบาฮฺอีกครั้ง แต่ทว่าในปีฮ.ศ.418/คศ.1027 มุฮำหมัด อิบนุ ญะฮฺวัรฺได้ก่อการลุกฮือและยึดอำนาจการปกครองจากพวกตระกูลฮัมดูนได้สำเร็จและนำตำแหน่งค่อลีฟะฮฺกลับคืนสู่พวกอัลอุม่าวียะฮฺ โดยแต่งตั้งฮิชาม อิบนุ มุฮำหมัด อิบนิ อับดิลลาฮฺ อิบนิ อับดิรเราะฮฺมาน อันนาซิรให้เป็นค่อลีฟะฮฺเฉลิมพระนามว่า”อัลมุอฺตัซฺ บิลลาฮฺ”



บาญะฮฺ (Beja)
* ในปีฮ.ศ.422/คศ.1031 อัลฮาญิบ อิบนุ มุฮำหมัดได้แยกตนเป็นอิสระในเมืองบาญะฮฺ



ฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo)
* ตระกูล ซุนนูน แผ่อิทธิพลเข้ายึดครองนครโทเลโดและแยกตนเป็นอิสระจากนครหลวงโคโดบาฮฺ



กลางเดือนซุลฮิจญะฮฺ ปีฮ.ศ.422/คศ.1031 บรรดานักปราชญ์และเหล่าแม่ทัพนายกองตลอดจนบุคคลสำคัญของชาวมุสลิมได้ร่วมประกาศยกเลิกระบอบคิลาฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺและมอบอำนาจการปกครองแก่อบุล ฮัซฺม์ อิบนุ ญะฮฺวัรฺ อาณาจักรอัลอุม่าวียะฮฺในอัลอันดะลุสได้ยุติลงหลังจากมีอำนาจได้ราว 200 ปี มีอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลเป็นผู้สถาปนา



ในยุคของอัดดาคิลมีความเข้มแข็งในการสถาปนาอาณาจักร ต่อมาก็ลุ่สู่ความเจริญรุ่งเรืองในยุคของเหล่าผู้ปกครองรัฐ (อุมารออฺ) และบรรดาค่อลีฟะฮฺในช่วงตอนกลาง แล้วก็แตกออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยในช่วงเวลา 50 ปี หลัง ซึ่งมีรัฐอิสระเกิดขึ้นถึง 22 รัฐหรือมากกว่านั้น



พวกรัฐคริสเตียนได้ฉวยโอกาสในช่วงที่อัลอันดะลุสแตกออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย ยึดครองอาณาเขตหนึ่งในสามของอัลอันดะลุสทางตอนเหนือ พวกคริสเตียนสามารถตีชิงเอาแว่นแคว้นทั้งหมดที่อัลฮาญิบ อัลมันซูร ได้เคยพิชิตและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอัลอันดะลุสกลับคืนสู่อำนาจพวกตน ในทุกวันนี้ พวกเราเป็นประชาชาติที่แตกแยก ซึ่งอาจจะยังไม่ถึงขั้นที่อัลอันดะลุสได้ประสบ ฉะนั้นยังคงมีความหวังสำหรับประชาชาติมุสลิมในการสร้างเอกภาพและความเข้มแข็งให้กลับคืนมาเช่นครั้งอดีตแต่ทว่าความหวังย่อมมิอาจสัมฤทธิผลได้ด้วยความเพ้อฝัน แต่จำต้องอาศัยความจริงใจและการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเป็นที่ตั้ง



ในช่วงเวลานั้น กราเซียฮฺที่ 2 ได้มีอำนาจอยู่ในอาณาจักรกิชตาละฮฺ (Castile) และถูกลอบสังหารในปีฮ.ศ.420 ขณะประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับน้องสาวของกษัตริย์ลิออง โอรสของ กราเซียฮฺที่ 2 คือ ชานญะฮฺ (Sancho) ที่ 3 ก็แผ่อำนาจปกครองกิชตาละฮฺ (Castile) และนาฟาเราะฮฺ (Navarre) และนำกองทัพเข้าโจมตีอาณาจักรลิอองและผนวกเข้าเป็นอาณาเขตของตน หลังจากนั้นชานญะฮฺก็ขนานพระนามพระองค์เองว่า กษัตริย์แห่งสเปน (Kings of Spain) รัฐคริสเตียนทางตอนเหนือของอัลอันดะลุสก็เริ่มเป็นปึกแผ่น ในขณะที่สถานการณ์ของชาวมุสลิมในอัลอันดะลุสยังคงระส่ำระสายเนื่องจากมีการรบพุ่งระหว่างก๊กอิสระต่างๆ ระหว่างกันเอง



ในปีฮ.ศ.426/คศ.14035 ชานญะฮฺหรือซานโชว์มหาราชได้สิ้นพระชนม์ ฟัรดิลันด์ (Fernando) โอรสของซานโชว์ก็สืบอำนาจต่อจากบิดาของตนและทำให้อาณาเขตของลิอองที่เหลือถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกิชตาละฮฺแห่งใหม่ (Castile, La Nueva)



มัรซียะฮฺ (Murcia)
* ในปีฮ.ศ.429 ตระกูลตอฮิรก็รวมอำนาจในเมืองมัรซียะฮฺ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอัลอันดะลุส



ซัรกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza)
* ในนครหลวงของภาคเหนือ นครซะระกุสเฏาะฮฺซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตระกูลอัตตุญัยบีย์ได้ถูกสุลัยมาน อิบนุ มุฮำหมัด อิบนิ ฮูด นำไพร่พลของตนก่อการกบฏแย่งชิงอำนาจจากพวกอัตตุญัยบีย์และยึดอำนาจในนครแห่งนี้ แล้วสถาปนาตัวเองขึ้นเป็น ค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอิน บิลลาฮฺ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีฮ.ศ.431/คศ.1040



อัลมะรียะฮฺ (Almeria)
* เจ้าเมืองอัลมะรียะฮฺจากตระกูลซุมาดิฮฺได้ประกาศแยกตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับนครโคโดบาฮฺ เมืองอัลมะรียะฮฺ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอัลอันดะลุส ถือเป็นเมืองหลวงทางทะเลและเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือในอัลอันดะลุส



อิชบีลียะฮฺ (Sevilla)
* หลังจากเจ้าเมืองอิชบีลียะฮฺสิ้นชีวิต บุตรชายของเขา คือ อัลมุอฺตะฎิด บิลลาฮฺ ได้ปกครองต่อมาในปีฮ.ศ.433 อัลมุอฺตะฎิด บิลลาฮฺ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี และขอความช่วยเหลือจากพวกคริสเตียนทางตอนเหนือ เขาทำสัญญากับฟัรดิลันด์ (Fernando) และยอมจ่ายบรรณาการแก่อาณาจักรคริสเตียนเพื่อแลกกับการคุ้มครองเมืองของตนจากอิทธิพลของโคโดบาฮฺ



ซะระกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza)
* ในปีฮ.ศ.438 อัลมุสตะอิน บิลลาฮฺ เสียชีวิตเมืองซะระกุสเฏาะฮฺ ก็แตกออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยในส่วนของตัวเมืองยังคงอยู่ภายใต้อำนาจของอะหฺหมัด อิบนุ สุลัยมาน ส่วนอาณาเขตที่ขึ้นกับซะระกุสเฏาะฮฺ ซึ่งเรียกว่าเขตบัรบัชตัรนั้น อยู่ภายใต้อำนาจอิสระของยูซุฟ อิบนุ สุลัยมาน น้องชายของอะหฺหมัด



บรรดารัฐอิสระของก๊กต่างๆ (ดุวัยลาตฺ อัตตอวาอิฟ)

ลำดับ รัฐอิสระ ผู้ปกครอง ปีที่แยกเป็นอิสระ
1
บะลันซียะฮฺ (Valencia)

อัลมุบารอกและอัลมุซ็อฟฟัรฺ ฮ.ศ.400
2
ดานียะฮฺ / อัลบิลยารฺ (Baleares)
มุญาฮิด อัลอามิรีย์ ฮ.ศ.400
3
อัลบุนต์
อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลกอซิม ฮ.ศ.400
4
อัรกุช (Arcos)

ตระกูลค็อซฺรูน ฮ.ศ.400
5
กุรฏุบะฮฺ (Cordova)

พวกอัลอุม่าวียะฮฺ ตระกูลฮัมดูน
และตระกูลญะฮฺวัรผลัดเปลี่ยนกัน ฮ.ศ.403
6
วัลบะฮฺ (Huelva)

ตระกูลอัลบักรีย์ ฮ.ศ.403
7
ฆอรนาเฏาะฮฺ (Granada)

ซาดีย์ อิบนุ ซีรีย์ ฮ.ศ.403
8
ซันตะมะรียะฮฺ (Santa Mariah)

ฮุซัยล์ อิบนุ อับดิลมะลิก ฮ.ศ.403
9
มูรูร (Moron)

ก๊ก ตะซีรีย์ ฮ.ศ.403
10
มัรซียะฮฺ (Murcia)

คอยรูน อัลอามิรีย์-ก๊กตอฮิร ฮ.ศ.403
11
กอรมูนะฮฺ (Carmona)

อบู มุฮำหมัด อิบนุ บิรฺซ้าล ฮ.ศ.405
12
อัลมะรียะฮฺ (Almeria)

คอยรูน อัลอามิรีย์ ฮ.ศ.405
13
รินดะฮฺ (Ronda)

ตระกูลยัฟรูน ฮ.ศ.406
14
ซะระกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza)

อัลมุนซิร อัตตุญัยบีย์ – ก๊กฮูด ฮ.ศ.408
15
บัฏลิอูส (Badajoz)

อับดุลลอฮฺ อิบนุ มุฮำหมัด ฮ.ศ.413
16
อิชบีลียะฮฺ (Sevilla)

มุฮำหมัด อิบนุ อิสมาอีล อิบนิ อับบาด ฮ.ศ.414
17
ลุบละฮฺ (Niebla)

อะหฺหมัด อิบนุ ยะฮฺยา ฮ.ศ.414
18
บาญะฮฺ (Beja)

อัลฮาญิบ อิบนุ มุฮำหมัด ฮ.ศ.422
19
ฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo)

ตระกูลซุนนูน

ฮ.ศ.422
20
บัรบัชตัร (Babastro)

ยูซุฟ อิบนุ สุลัยมาน

ฮ.ศ.438
20 ซันตะมะรียะฮฺตะวันตก
(West Santa Mariah)
ก๊กฮารูน

ฮ.ศ.407


อบุลวะลีด อัลบาญีย์ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
ในปีฮ.ศ. 440 มีนักปราชญ์ท่านหนึ่งเดินทางถึงแคว้นอัลอันดะลุส ซึ่งก่อนหน้านั้น 13 ปี นักปราชญ์ผู้นี้ได้จากแคว้นอัลอันดะลุสไปยังดินแดนตะวันออกของโลกอิสลามเพื่อแสวงหาวิชาความรู้ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ คือ อบุลวะลีด อัลบาญีย์ เป็นนักปราชญ์ผู้อาวุโสท่านหนึ่งในอัลอันดะลุส เป็นนักปฏิบัติ และเป็นนักญิฮาด จะขอกล่าวถึงเรื่องราวของนักปราชญ์ผู้นี้ เพื่อหวังว่าจะได้เป็นแบบอย่างสำหรับบรรดานักวิชาการและเหล่านักศึกษาในยุคของเรานี้



อบุลอัลวะลีด สุลัยมาน อิบนุ ค่อลัฟ อัลบาญีย์ เป็นนักนิติศาสตร์อิสลามสังกัดมัซฮับมาลิกีย์ และเป็นนักวิชาการหะดีษที่ยิ่งใหญ่แห่งอัลอันดะลุส อบุลวะลีด ถือกำเนิดในเมืองบัฏลิยูส (Badajoz) ปีฮ.ศ.403 เมื่อเติบใหญ่ได้เดินทางสู่แคว้นอัลฮิญาซฺ, นครแบกแดด และแคว้นชาม (ซีเรีย) และกลับสู่อัลอันดะลุสหลังจากใช้เวลา 13 ปีในการเดินทางเสาะแสวงหาความรู้จากเหล่านักปราชญ์เป็นอันมาก อบุลวะลีดได้แต่งตำราเป็นจำนวนมาก



อาทิเช่น “อัลมุนตะกอ” อรรถาธิบายหนังสือ อัลมุวัตเตาะฮฺของอิหม่ามมาลิก อิบนุ อนัส, “ชัรฮุลมุเดาวะนะฮฺ” และ  ”อัลอิชาเราะฮฺ” ในวิชาหลักมูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม เป็นต้น อบุลวะลีด มีความรู้อย่างเอกอุ ทั้งๆ ที่เป็นคนยากจนและมีความสมถะ เขาจะทานอาหารที่ได้มาจากหยาดเหงื่อในการทำงาน บ่อยครั้งที่เขาออกไปสั่งสอนสานุศิษย์ในขณะที่มือของเขายังมีร่องรอยของการจับฆ้อนในการทำงานตามอาชีพของเขา และจะตอบโต้พวกคริสเตียนและหักล้างคำกล่าวอ้างตลอดจนเรียกร้องเชิญชวนพวกนั้นสู่ศาสนาอิสลาม อบุลวะลีดจึงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ มีความสูงส่งสมกับความเป็นปราชญ์ทางศาสนา



อบุลวะลีดได้ใช้เวลาในการเดินทางไปทั่วอัลอันดะลุสถึง 30 ปีในการเรียกร้องให้มีเอกภาพ ความเป็นปึกแผ่น และยุติการขัดแย้งเพื่อรวมพลังเข้าต่อสู้กับแผนการของพวกคริสเตียนทางเหนือ เขาตระเวนเรียกร้องเชิญชวนทั้งผู้ปกครองและพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครอง, ทหารและชาวบ้านสู่แนวร่วมแห่งอิสลาม บรรดาผู้ปกครองต่างก็ให้การต้อนรับอบุลวะลีดในทุกที่ทุกเมืองที่เขาไปถึง พวกนั้นต่างก็แสดงความความยินดีต่อการเรียกร้องและการทุ่มเทของอบุลวะลีด แต่นั่นก็เป็นเพียงคำพูดและเป็นเรื่องการเมืองอันจอมปลอม ไม่มีผู้ใดลงมือกระทำอย่างจริงจังสักคนเดียว กระนั้นอบุลวะลีดก็หาได้สิ้นหวังไม่ เขายังคงดำเนินภารกิจที่ยิ่งใหญ่ต่อไปซึ่งในภายหลังได้ส่งผลตามมา



มาลิเกาะฮฺ (Malaga)
* ในปีฮ.ศ.449/คศ.1057 ตระกูลอับบาดฺได้ยึดครองเมืองมาลิเกาะฮฺ (Malaga) และเขตแดนโดยรอบ และเข้ายึดครองเมืองนับละฮฺ (Nienbla), วัลบะฮฺ (Huelva) และเกาะชังกีฏ ตลอดจนซันตะมะรียะฮฺ (Santa Maria) และชัลยะฮฺ จนกระทั่งถึงมหาสมุทรแอตแลนติก และเข้ายึดครองเมืองมัรซียะฮฺ (Murcia) และเริ่มคุกคามต่อฆอรนาเฏาะฮฺ (Granada)

ปราสาทแห่งนครมาลิเกาะฮฺ หอระฆังโบสถ์ในเมืองซานตามารีอาเดิมคือหออะซานของมัสญิด

ฝ่ายพวกคริสเตียนนั้น ฟัรดะลันด์ (Fernando) ได้นำทัพข้ามลำน้ำดุวัยเราะฮฺ (Duero) และปิดล้อมป้อมปราการบาซู ทางตอนใต้ของแม่น้ำดุวัยเราะฮฺ พลเมืองมุสลิมได้ต่อสู้ป้องกันเมืองอย่างกล้าหาญและขอความช่วยเหลือไปยังชาวมุสลิมในหัวเมืองอื่น แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด จนในที่สุด ฟัรดะลันด์ (Fernando) ก็จู่โจมอย่างหนักหน่วงต่อเมืองนี้ พลเมืองถูกสังหารและถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปีฮ.ศ.449/คศ.1057



ในปีฮ.ศ.452/คศ.1060 อัลดุลอะซีซ อิบนุ อับดิรเราะฮฺมาน อิบนิ อัลฮาญิบ อัลมันซูร ผู้ปกครองเมืองบะลันซียะฮฺ (Valencia) ได้เสียชีวิต อัลมะลิก อัลมุซอฟฟัรฺ บุตรชายก็ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน และได้สมรสกับบุตรีของอัลมะอฺมูน ผู้ปกครองเมืองฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) รัฐทั้ง 2 จึงรวมเป็นหนึ่ง



ในปีฮ.ศ.456/คศ.1064 ฟัรดะลันด์ (Fernando) ได้นำทัพสู่เมืองฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) นครหลวงในภาคกลางของอัลอันดะลุส และปล้นสะดมเขตชานเมือง และยึดครองเมืองกุลุมะรียะฮฺ (Coimbra) ได้สำเร็จ



เมืองซะระกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza) นับเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มรัฐอิสสระ และเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับพรมแดนของรัฐคริสเตียนทางตอนเหนือ เมืองซะระกุสเฏาะฮฺ อยู่ใต้อำนาจของก๊กตุญัยบีย์ ต่อมาพวกก๊กฮูดก็เข้ายึดอำนาจ เมื่อสุลัยมาน อิบนุ ฮูด หรืออัลมุสตะอีน บิลลาฮฺ ได้สิ้นชีวิตลง รัฐแห่งนี้ก็แตกออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย อะฮฺหมัด อิบนุ สุลัยมาน (อัลมุกตะดิร บิลลาฮฺ) ยังคงมีอำนาจในตัวเมืองซะระกุสเฏาะฮฺ ในขณะที่เมืองบัรบัชตัร (Babastro) มียูซุฟ อัลมุซอฟฟัร บิลลาฮฺ น้องชายของอะหฺหมัดเป็นผู้ปกครอง



การรุกรานของพวกนอร์แมนด์

เผ่านอร์แมนด์ (ไวกิงค์) ได้รวมตัวกันเข้าโจมตีในปีฮ.ศ.456 พร้อมกับพวกฝรั่งเศส มีจำนวนกำลังพลมากกว่า 40,000 คน พวกนอร์แมนด์และฝรั่งเศสได้ข้ามเทือกเขาพิเรนีส และมุ่งหน้าสู่เมืองซัรกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza) และบนเส้นทางการเดินทัพนั้น มีเมืองบัรบัชตัร (Barbastro) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองซัรกุสเฏาะฮฺราว 60 ก.ม.และเข้าปิดล้อมเมืองนี้เอาไว้

ป้อมปราการและปราสาทที่สร้างโดยอบูญะอฺฟัร อะฮฺมัด อิบนุ สุลัยมาน ในนครซัรฺกุสเฏาะฮฺ (ซาราโกซ่า) อัล-อันดะลุส

อัลมุซอฟฟัรฺ บิลลาฮฺได้ขอความช่วยเหลือไปยังอัลมุกตะดิร บิลลาฮฺให้ส่งกำลังทหารมาสนับสนุน แต่อัลมุกตะดิรกลับปฏิเสธและปล่อยให้ชาวมุสลิมถูกปิดล้อมไว้ในตัวเมือง อัลมุซอฟฟัรฺจึงขอความช่วยเหลือไปยังรัฐอิสระต่างๆ แต่ก็ไม่มีผู้ใดตอบรับ บรรดานักวิชาการศาสนาก็มีการเคลื่อนไหวในทุกเขตแดน แต่ก็ไม่มีผู้ใดรับฟัง การปิดล้อมเป็นไปอย่างหนักหน่วงตลอดระยะเวลา 40 วัน มีการรบพุ่งกับนอกเมืองอย่างรุนแรง



เมื่อมีกำลังทหารน้อยกว่า พวกนอร์แมนด์จึงสามารถจู่โจมเข้าสู่ตัวเมือง ฝ่ายมุสลิมก็ตั้งป้อมต่อสู้อยู่ภายในตัวเมืองอย่างทรหด แต่ทว่ามีผู้ทรยศชี้ทางน้ำที่ใช่หล่อเลี้ยงผู้คนในตัวเมืองให้กับพวกฝรั่งเศส พวกนั้นจึงตัดเส้นทางส่งน้ำ ทำให้พลเมืองตกอยู่ในสภาวะคับขันเนื่องจากขาดน้ำ ชาวเมืองบัรบัชตัร (Barbastro) จึงยื่นข้อเสนอต่อพวกนอร์แมนด์และฝรั่งเศสว่าจะยอมแพ้ แต่พวกนั้นก็ปฏิเสธและยกกำลังทหารเข้าจู่โจมตัวเมืองเข่นฆ่าผู้คนเป็นจำนวนมาก จำนวนที่น้อยที่สุดตามที่มีระบุไว้คือ 40,000 คน และมากที่สุดคือจำนวน 100,000 คน



เมื่อพวกนอร์แมนด์ยึดเมืองนี้ได้ก็จัดแบ่งให้ทหารนอร์แมนด์ปกครองเขตต่างๆ นอกจากนี้พวกนอร์แมนด์ได้เลือกสาวงามของเมืองนี้จำนวน 5,000 คน แล้วส่งไปยังนครคอนสแตนติโนเปิ้ลเพื่อเป็นกำนัลแก่จักรพรรดิโรมัน พวกนอร์แมนด์ได้ทิ้งทหารของพวกตนเอาไว้เพื่อรักษาเมืองจำนวน 3,500 คน หลังจากนั้นก็กลับสู่พรมแดนฝรั่งเศสพร้อมกับทรัพย์สงครามและเชลยศึกจำนวนมาก



ประวัติศาสตร์ย้อนรอยหรือไม่? ท่านผู้อ่านคงยังจำได้ถึงเสียงกรีดร้องของสตรีชาวบอสเนีย ที่ถูกล่วงละเมิดเกียรติอย่างน้อย 50,000 คน และผู้ชายชาวบอสเนียที่ถูกเข่นฆ่าไม่น้อยกว่า 200,000 คน หรือว่าลืมเลือนไปเสียแล้ว!



เหตุการณ์อันน่าเจ็บปวดนี้ ได้ทำให้อบุลวะลีด อัลบาญีย์จำต้องเคลื่อนไหวโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากผู้ปกครองคนใด เขาทำการปลุกระดมและเรียกร้องบรรดาชาวมุสลิมให้ทำการญิฮาดในวิถีทางของพระองค์อัลลอฮฺและช่วยเหลือบรรดาผู้อ่อนแอ ถึงแม้ว่าไม่มีผู้ปกครองคนใดคิดที่จะเคลื่อนไหว



แต่บรรดานักปราชญ์ก็เข้าเป็นแนวร่วมกับอัลบาญีย์ ส่วนหนึ่งคือ ท่านอิบนุ ฮัซฺม์ (อะลี อิบนุ อะฮฺหมัด) นักวิชาการคนสำคัญที่เป็นทั้งนักนิติศาสตร์, นักกวี, นักปรัชญา, นักประวัติศาสตร์ ถือกำเนิดในนครโคโดบาฮฺ ปีฮ.ศ.384, ท่านอิบนุ อับดิลบัรร์ ถือกำเนิดในนครโคโดบาฮฺ ปีฮ.ศ.368 ผู้ได้รับฉายานามว่า ฮาฟิซ (นักท่องจำอัลหะดีษ) แห่งดินแดนตะวันตก และท่านอิบนุ รุชด์ (ปู่ของอิบนุ รุชด์ นักปรัชญา) ซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ผู้เจนจัดในมัซฮับมาลิกีย์ เป็นต้น



การเคลื่อนไหวของบรรดนักปราชญ์คนสำคัญๆ ในอัลอันดะลุสได้ปลุกจิตสำนึกของบรรดาผู้คนตลอดจนอัลมุกตะดิร ซึ่งอัลมุซอฟฟัรฺ พี่น้องของเขาได้ถูกสังหารพร้อมกับพลเมืองบัรบัชตัรฺ (Barbastro) ก็คิดได้เขาจึงร่วมมือกับอัลบาญีย์ในการรวบรวมกำลังพลจำนวน 6,000 คน พร้อมกับอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังสนับสนุน เสียงตักบีรอันกึกก้องของกำลังพลชาวมุสลิมก็บ่ายหน้าสู่เมืองบัรบัชตัรฺ



ในระหว่างทางบรรดาทหารอาสาและชาวบ้านได้เข้าร่วมสมทบจากทั่วทุกสารทิศ หลังจากถึงกำแพงเมืองก็เกิดการสู้รบเป็นเวลาถึง 9 เดือน และยุติลงด้วยชัยชนะของชาวมุสลิม พวกนอร์แมนด์ถูกสังหารถึง 1,500 คน ที่เหลือถูกจับเป็นเชลย ในขณะที่ฝ่ายกำลังพลมุสลิมมีผู้พลีชีพเพียง 50 คนเท่านั้น เมืองบัรบัชตัรก็กลับสู่การปกครองของชาวมุสลิมอีกครั้ง



ชัยชนะของชาวมุสลิมในครั้งนี้เป็นผลมาจากความทุ่มเทในการเรียกร้องปลุกจิตสำนึกตลอดระยะเวลาหลายสิบปีของอบุลวะลีด อัลบาญีย์ ถือเป็นคุณูปการของเหล่านักวิชาการที่ยึดมั่นในอุดมการณ์และบทบาทของตนซึ่งประชาคมมุสลิมในทุกวันนี้มีความต้องการเหล่านักวิชาการที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ นักวิชาการที่เป็นทั้งผู้สืบสานหลักคำสอนของศาสนาอันถูกต้อง ทุ่มเทในการเผยแผ่และสั่งสอน ตลอดจนลงมือปฏิบัติจริง เรียกร้องสู่การญิฮาด และออกสู่สมรภูมิ มิใช่เป็นผู้ที่เที่ยวสั่งสอนผู้คนแต่ถ่ายเดียวครั้นถึงยามวิกฤติก็กลับนิ่งเงียบและลืมเลือนภารกิจของตน ดูเหมือนว่าประชาคมมุสลิมในทุกวันนี้จะขาดแคลนนักวิชาการที่เป็นแบบอย่างเยี่ยงอบุลวะลีด อัลบาญีย์ และเหล่านักปราชญ์ที่ร่วมออกศึก ขาดแคลนจนแทบจะหาไม่ได้เลยทีเดียว ลาเฮาล่าวาลากูวะต้าอิลลาฮฺ บิลลาฮฺ



การขัดแย้งระหว่างคริสเตียนทางตอนเหนือ

ฟัรดะลันด์ (เฟอร์ดินานด์) กษัตริย์คริสเตียนได้สิ้นพระชนม์ในปีฮ.ศ.458/คศ.1066 ในรัชสมัยของพระองค์นั้นได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักรคริสเตียนด้วยการรวมรัฐอิสระคริสเตียนเข้าเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้อำนาจของพระองค์ เมื่อสิ้นพระชนม์ลง อาณาจักรคริสเตียนได้ถูกแบ่งออกระหว่างโอรสทั้ง 3 ของพระองค์



ชานญะฮฺ (Sancho) โอรสองค์โตได้ครอบครอง กิชตาละฮฺ (Castile) อัลฟองซัว (Alfonso) โอรสองค์กลางได้ปกครองลิออง (Leon) ในขณะที่กราเซียฮฺ (Grasia) โอรสองค์เล็กได้ปกครองญะลีกียะฮฺ (Galicia) และโปรตุเกส (Portugal) แต่เพียงผู้เดียว ชานญะฮฺ (Sancho) โอรสองค์โตปรารถนาได้อาณาเขตของน้องชายทั้งสองของพระองค์จึงนำกองทัพเข้าโจมตีลิออง และปราบปรามลงได้ อัลฟองซัว จึงหลบหนีไปยังฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) ซึ่งอัลมะอฺมูน จากตระกูลซูนนูนฺ ปกครองอยู่อัลมะอฺมูนได้ให้การต้อนรับ อัลฟองซัวและผู้ติดตามเป็นอย่างดี



การดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้อัลฟองซัว ได้รับรู้ถึงจุดอ่อนของชาวมุสลิมและรู้ถึงลู่ทางในการเข้าสู่ฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) เขาใช้เวลาอยู่ในเมืองนี้ถึง 9 เดือน จึงรู้ข้อมูลของเมืองทุกด้าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการยึดครองเมืองในเวลาต่อมา



ในปีฮ.ศ.459/คศ.1067 ชานญะฮฺ (Sancho) ยังคงมุ่งหน้าในการแผ่อำนาจของตนเหนือลิออง (Leon) และสามารถผนวกแคว้นญะลีกียะฮฺ (Galicia) และโปรตุเกส (Portugal) ได้สำเร็จ ชานญะฮฺได้รวมอาณาจักรคริสเตียนให้เป็นหนึ่งอีกครั้ง ในระหว่างที่อัลอันดะลุสยังตกอยู่ในความขัดแย้งและการรบพุ่งกันเอง



การขัดแย้งระหว่างรัฐอิสระในอัลอันดะลุส

อิบนุ อับบาด ผู้ปกครองอิชบีลียะฮฺ (Sevilla) ได้เข้ายึดครองหัวเมืองกอรมูนะฮฺ (Carmona), มูรูร (Moron), อัรกุช (Arcos) และรินดะฮฺ (Rinda) จนทำให้อัลมุซอฟฟัร ผู้ปกครองบัฏลิอุส (Badajoz) จำต้องยอมจ่ายบรรณาการแก่ชานญะฮฺ (Sancho) เพื่อแลกกับการคุ้มครองตน



ในปีฮ.ศ.461/คศ.1069 อัลมุซอฟฟัร อิบนุ อับบาดได้เสียชีวิต อัลมุอฺตะมัด บิลลาฮฺ บุตรชายของเขาก็ขึ้นปกครองอิชบีลียะฮฺ (Sevilla) ในปีฮ.ศ.463 อัลมุอฺตะมัดก็นำทัพเข้ายึดครองนครโคโดบาฮฺ และสามารถยุติอำนาจของพวกตระกูลญะฮฺวัรฺลงได้ และผนวกโคโดบาฮฺเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน ด้วยเหตุนี้อิชบีลียะฮฺ (Sevilla) จึงกลายเป็นรัฐอิสระที่ใหญ่ที่สุดในอัลอันดะลุส



อัลฟองซัว (Alfonso) ครองอำนาจ

ชานญะฮฺ (Sancho) เคลื่อนกำลังพลเข้ายึดครองป้อมซะมูเราะฮฺ (Zamora) ในระหว่างเส้นทางชานญะฮฺ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ในปีฮ.ศ.465 อาณาจักรคริสเตียนจึงไร้กษัตริย์ อัลฟองซัว (Alfonso) ซึ่งลี้ภัยอยู่ในนครโทเลโดของชาวมุสลิมก็เดินทางสู่อาณาจักรคริสเตียนในฐานะกษัตริย์แห่งกิชตาละฮฺ (Castile), ลิออง (Leon) และญะลีกียะฮฺ (Galicia) รวมเป็นอาณาจักรหนึ่งเดียว หลังจากนั้นอัลฟองซัวก็จับกุมกราเซียฮฺ น้องชายคนเล็กของตนและคุมขัง กราเซียฮฺ ใช้ชีวิตในที่คุมขังเป็นเวลาถึง 17 ปี



ภายหลังขึ้นเป็นกษัตริย์คริสเตียนแห่งสเปนแล้ว อัลฟองซัวก็ส่งกองทัพเข้าโจมตีเขตชานเมืองและที่เพาะปลูกของเมืองโทเลโด สร้างความบอบช้ำและอ่อนแอให้แก่เมืองเพื่อเป็นการปูทางสู่การยึดครอง แต่ความมุ่งหมายของอัลฟองซัว ก็คือ โจมตีเมืองอิชบีลียะฮฺ (Sevilla) และนครหลวงโคโดบาฮฺ (Cordoba)



ในปีฮ.ศ.465/คศ.1073 อัลฟองซัว ได้ส่งคณะทูตไปยังนครอิชบีลียะฮฺ เพื่อเรียกร้องให้อัลมุอฺตะมัด บิลลาฮฺ ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ตนตามที่ได้มีสนธิสัญญากันไว้ และให้เพิ่มจำนวนภาษีที่จะถูกจัดเก็บเพื่อส่งไปให้ตนโดยเร็ว อัลมุอฺตะมิดได้อนุญาตให้พระมเหสีของอัลฟองซัวที่เดินทางมาพร้อมกับคณะทูตในขณะที่พระนางทรงครรภ์ให้พำนักในนครโคโดบาฮฺ ต่อมาพระนางได้คลอดพระโอรสในมัสญิดญามิอฺแห่งนครโคโดบาฮฺตามการชี้แนะของบรรดาบาดหลวงคริสเตียนที่กล่าวว่า : หากมีทารกถือกำเนิดในมัสญิดที่ใหญ่ที่สุดของชาวมุสลิมแล้ว ทารกผู้นั้นก็จะกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในภายหน้า



ผู้นำของคณะทูตคริสเตียนคือ อิบนุ ชาลีบ ชาวยิวที่เป็นเสนาบดีของอัลฟองซัว คณะทูตได้ลงพักอยู่นอกเมืองอิชบีลียะฮฺ อัลมุอฺตะมิดได้ส่งอบูบักร อิบนุ ซัยดูน เสนาบดีของตนออกไปเจรจากับคณะทูตแต่ทว่าอิบนุ ชาลีบ ชาวยิวได้ใช้ความแข็งแกร่งและความกักขฬะของตนในการเจรจา ทำให้อัลมุอฺตะมัดรับไม่ได้กับการกระทำและท่าทีของอิบนุ ชาลีบและโกรธกริ้วเป็นอันมาก จึงได้ส่งกำลังทหารเข้าไปสังหาร อิบนุ ชาลีบและคณะทูตทั้งหมดจำนวน 500 คน



แต่มี 3 คนที่สามารถหลบหนีกลับมาส่งข่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้อัลฟองซัวได้รับทราบถึงคำตอบของอัลมุอตะมัดได้สำเร็จ เหตุการณ์สังหารคณะทูตได้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่บรรดานักวิชาการศาสนา มีทั้งผู้ที่ไม่เห็นด้วย และผู้ที่เห็นด้วยกับการกระทำของอัลมุอฺตะมัด



ครั้นเมื่อข่าวมาถึง อัลฟองซัว (Alfonso) เขาก็สาบานว่าจะทำการแก้แค้นอย่างสาสม เขาจัดเตรียมกองทัพและระดมสรรพกำลังทหารจากทั่วอาณาจักรคริสเตียน ทัพหน้าของพวกคริสเตียนได้บุกทำลายและเผาผลาญทุกสิ่งที่ขวางหน้าตลอดเส้นทางการเดินทัพสู่เมืองอิชบีลียะฮฺ (Sevilla) เมื่อถึงอิชบีลียะฮฺก็เข้าปิดล้อมเมืองนี้เอาไว้



หลังจากนั้นอัลฟองซัวก็ส่งสาส์นไปยังอัลมุอฺตะมัด เพื่อขอให้ยอมส่งมอบอิชบีลียะฮฺแก่ตน แต่ทว่าอัลมุอฺตะมัดได้ตอบกลับไปว่า ถ้าหากอัลฟองซัวไม่ยอมยกเลิกการปิดล้อมและถอนทัพกลับ ตนจะขอความช่วยเหลือไปยังพวกมุรอบิฎูน ซึ่งกำลังแผ่อำนาจอยู่ในแอฟริกาเหนือ อัลฟองซัววิตกว่า พวกมุรอบิฏูนจะเข้ามายังผืนแผ่นดินอัลอันดะลุสแล้วจะทำให้สถานการณ์ของมุสลิมเปลี่ยนไป จึงได้ยกเลิกการปิดล้อมและยกทัพกลับสู่อาณาจักรของตน



ในปีฮ.ศ.467/คศ.1075 อัลมะอฺมูน อิบนุ ซินนูนฺ ได้เสียชีวิต อัลกอดิร บิลลาฮฺ หลานชายก็ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ปกครองฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) บุคคลผู้นี้นับเป็นผู้ปกครองรัฐอิสระในอัลอันดะลุสที่ยอดแย่ที่สุดคนหนึ่ง เหตุนี้เมืองบะลันซียะฮฺ (Valencia) ซึ่งขึ้นกับนครโทเลโด จึงแยกตนเป็นอิสระ มีมุฮำหมัด อิบนุ อับดิลอะซีซฺ ซึ่งเป็นเสนาบดีของอัลมะอฺมูนเป็นผู้นำ



ต่อมาในปีฮ.ศ.468/คศ.1076 ตระกูลฮูดที่มีอำนาจอยู่ในซะระกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza) ได้ผนวกรัฐดานิยะฮฺ (Denia) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของซะระกุสเฏาะฮฺ และติดต่อกับผู้ปกครองบะลันซียะฮฺ (Valencia) ซึ่งมีศักดิ์เป็นพ่อตาของอะหฺหมัด อัลมุสตะอีน ให้รวมบะลันซียะฮฺเข้าเป็นส่วนหนึ่งของซะระกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza)



อัลฟองซัว (Alfonso) กษัตริย์สเปนได้เริ่มคุกคามต่อนครฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) ในปีฮ.ศ.470 ด้วยการโจมตีเขตแดนและที่เพาะปลูกของนครโทเลโด การโจมตีเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 7 ปี ทำให้พลเมืองโทเลโดไม่พอใจต่อ อัลกอดิร บิลลาฮฺ ที่ไม่สนใจในการป้องกันเมืองจากการโจมตีของพวกคริสเตียนอย่างที่ควรจะเป็น



บรรดาบุคคลสำคัญได้ร่วมกันปรึกษาหารือและมีมติให้ขอความช่วยเหลือไปยังอัลมุตะวักกิล อะลัลลอฮฺ ผู้ปกครองบัฏลิยูส (Badajoz) อัลมุตะวักกิลเป็นผู้ปกครองที่ดีมีความเด็ดขาดและกล้าหาญ ในปีฮ.ศ.472 พลเมืองโทเลโดจึงร่วมกันปลดอัลกอดิร บิลลาฮฺ ออกจากตำแหน่งผู้ปกครอง แต่ภายหลังอัลฟองซัวก็ให้ความช่วยเหลือต่ออัลกอดิรในการกลับมาปกครองโทเลโดอีกครั้ง



ในปีฮ.ศ.474/คศ.1082 อัลฟองซัว (Alfonso) ได้มีสาส์นถึงอัลมุตะวักกิล ผู้ปกครองบัฏลิยูส (Badajoz) ให้ส่งเครื่องบรรณาการและมอบป้อมปราการที่มั่นบางแห่งให้แก่ตน แต่อัลมุตะวักกิลก็ตอบโต้การคุกคามของกษัตริย์คริสเตียนด้วยการมีสาส์นตอบกลับไปว่าตนเอง และพลเมืองบัฏลิยูส จะไม่ยอมจำนนหรือยอมรับการกดขี่ของพวกคริสเตียน ถึงแม้ว่าบัฏลิยูส จะเป็นเพียงแค่รัฐเล็กๆ ที่มีกำลังทหารไม่มากก็ตาม



ในปีเดียวกันนั้น (ฮ.ศ.474) อะหฺหมัด อัลมุกตะดิร บิลลาฮฺ ผู้ปกครองซะระกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza) ได้เสียชีวิต อาณาเขตของซะระกุสเฏาะฮฺจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ระหว่างยูซุฟ อัลมุอฺตะมันและอัลมุนซิรบุตรชายทั้ง 2 ของอัลมุกตะดิร บิลลาฮฺ มีการรบพุ่งระหว่างพี่น้องทั้ง 2 ฝ่ายอัลมุอฺตะมัน ได้ขอความช่วยเหลือไปยังพวกคริสเตียน ทำให้เขาสามารถยึดครองอาณาเขตของซะระกุสเฏาะฮฺได้ทั้งหมด



และในปีฮ.ศ.474/คศ.1082 อบุลวะลีด อัลบาญีย์ นักปราชญ์ผู้ทุ่มเทในการเรียกร้องความเป็นเอกภาพของอัลอันดะลุสตลอดระยะเวลา 30 ปีได้เสียชีวิตลง ก่อนหน้าที่อัลบาญีย์จะเสียชีวิตนั้นเขาเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสาส์นไปถึงพวกมุรอบิฏูนในแอฟริกาเหนือเพื่อให้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออัลอันดะลุสที่กำลังอ่อนแอและแตกแยก



นครฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) ตกอยุ่ในกำมือฝ่ายคริสเตียน

ในเดือนมุฮัรรอม ปีฮ.ศ.478/คศ.1085 การให้ที่พักพิงของโทเลโดแก่อัลฟองซัวที่ 6 โอรสเฟอร์ดินานด์ในช่วงที่ลี้ภัยได้กลายเป็นผลร้ายแก่โทเลโดเอง กล่าวคือเป็นการเปิดโอกาสให้อัลฟองซัวได้รู้ข้อมูลในด้านการทหาร ชัยภูมิและจุดอ่อนของเมือง หลังจากส่งทหารโจมตีเขตชานเมืองโทเลโดตลอด 7 ปี อัลฟองซัว ก็นำทัพเข้าปิดล้อมอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่องจนกระทั่งเมืองโทเลโดต้องตกอยู่ในกำมือของกองทัพคริสเตียนหลังจากอัลฟองซัวได้ให้สัญญากับชาวเมืองในด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและสิทธิเสรีภาพในทางศาสนา

ชาวมุสลิมอัล-อันดะลุส รอคอยความช่วยเหลือของพวกอัลมุรอบิฏูน

แต่ทว่าอัลฟองซัวก็รักษาสัญญาเพียง 2 เดือน เท่านั้นนับแต่ยึดครองเมืองนี้ได้ อัลฟองซัวได้มีคำสั่งให้เปลี่ยนบรรดามัสญิดในตัวเมืองโทเลโดเป็นโบสถ์ในคริสต์ศาสนา ส่วนหนึ่งคือมัสญิดญามิอฺ ซึ่งเป็นมัสญิดที่ใหญ่ที่สุดในโทเลโด หลังจากนั้นอัลฟองซัวก็เคลื่อนทัพเข้ายึดครองเมืองตอลฺบีเราะฮฺและซันตะมะรียะฮฺ (Santa Maria) ภายหลังก็เคลื่อนทัพเข้าปิดล้อมซัรกุสเฏาะฮฺ (Zaragoza) นครหลวงทางภาคเหนือของอัลอันดะลุส



ในระหว่างนั้นอัลกอดิร บิลลาฮฺ ก็ยอมส่งมอบเมืองบะลันซียะฮฺ (Valencia) เพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับอาณาจักรของอัลฟองซัวชาวเมืองบะลันซียะฮฺ จึงต้องแบกภาระในการเสียภาษีอันหนักอึ้งแก่อัลฟองซัว อัลมุสตะอิน บิลลาฮฺ น้องชายของอัลกอดิร บิลลาฮฺ ได้ขอความช่วยเหลือจากอัลกุมบิฏูรฺ (Campeador,El cid) ซึ่งเป็นหัวหน้ากองกำลังอัศวินคริสเตียนที่เป็นทหารรับจ้างให้กับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือคริสเตียนเพื่อแลกกับทรัพย์สิน อัลกุมบิฏูร (เอลซิด) ได้รวบรวมกำลังทหารรับจ้างจำนวน 4,000 คน สนับสนุนอัลมุสตะอีน บิลลาฮฺ ซึ่งมีกำลังทหาร 3,000 คน  เพื่อนำเอาอำนาจการปกครองบะลันซียะฮฺกลับคืนมา



แต่ทว่าอัลกอดิร บิลลาฮฺ เจ้าเมืองบะลันซียะฮฺที่เป็นพันธมิตรกับอัลฟองซัว ได้ลอบส่งคนมาติดสินบนกับอัลกุมบิฏูร (เอลซิด) ด้วยทรัพย์สินที่มากกว่าอัลมุสตะอีนเสนอให้ อัลกุมบิฏูร จึงยุติการเคลื่อนไหวของตนโดยอ้างว่า อัลกอดิรเป็นพันธมิตรกับอัลฟองซัวและตนไม่ต้องการกวนใจอัลฟองซัว ไม่เพียงแค่นั้น อัลกุมบิฏูรยังได้ส่งคนไปติดต่อกับอัลมุนซิร ลุงของอัลมุสตะอีนซึ่งเป็นปรปักษ์กับอัลมุสตะอีนว่าตนมีความปรารถนาดีที่จะร่วมเป็นพันธมิตรกับอัลมุนซิรในการต่อต้านอัลมุสตะอีน แต่ทว่าต้องส่งทรัพย์สินมาให้ตนเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน!



นอกจากนี้ อัลกุมบิฏูร (เอลซิด) ยังได้มีสาส์นถึงอัลฟองซัว ว่าตนและกำลังทหารของตนพร้อมจะสวามิภักดิ์ต่ออัลฟองซัว แต่มีเงื่อนไขว่า อัลฟองซัวต้องยกเขตแดนส่วนหนึ่งให้ตนเป็นผู้ปกครอง ซึ่งอัลฟองซัวก็ตอบตกลง



อัลกุมบีฏูร (Campeador,Elcid) ได้รวบรวมทหารรับจ้างจำนวน 7,000 คนเข้าคุกคามแว่นแคว้นต่างๆ ครั้นเมื่อยกทัพมุ่งหน้าสู่เมืองบะลันซียะฮฺ (Valencia) อัลกอดิร เจ้าเมืองบะลันซียะฮฺก็ประกาศว่าตนยอมสวามิภักดิ์ต่อเอลซิด และจะส่งมอบภาษีและบรรณาการแก่เอลซิดผู้นี้ อนึ่งคำว่าเอลซิด (Elcid) เป็นคำเรียกขานที่ผู้นิยมชมชอบต่ออัลกุมบีฏูร ขนานนามให้แก่เขา มาจากคำในภาษาอาหรับว่า อัซซัยยิด (السيد) นั่นเอง



หลังจากเหตุการณ์อันขมขื่นที่อัลอันดะลุสต้องประสบมาโดยตลอดและสูญเสียเมืองฏุลัยฏุละฮฺ (Toledo) ให้แก่ฝ่ายคริสเตียน บรรดานักวิชาการและเหล่านักปราชญ์ก็สิ้นหวังจากบรรดาผู้ปกครองในการกอบกู้เกียรติและการปกป้องชาวมุสลิม และเกรงว่าจะสูญเสียอัลอันดะลุสทั้งหมดหากสถานการณ์ยังเป็นไปเช่นนี้ จึงได้รวมตัวกันส่งตัวแทนมุ่งหน้าไปยังแอฟริกาเหนือเพื่อขอความช่วยเหลือจากพวกอัลมุรอบิฏูน



การเรียกร้องให้พวกอัลมุรอบิฏูนเข้ามาแทรกแซงและช่วยเหลืออัลอันดะลุสให้รอดพ้นจากหลายทางด้วยกันคือ

1. บรรดานักปราชญ์ที่เป็นแนวร่วมกับอัลบาญีย์

2. การส่งสาส์นของอัลมุอฺตะมัด อิบนุ อับบาดไปยังยูซุฟ อิบนุ ตาชฺฟีน ภายหลังการคุกคามของอัลฟองซัวต่อเมืองอิชบีลียะฮฺ (Sevilla)

3. การกระตือรือร้นของอัลมุตะวักกิล บิลลาฮฺ เจ้าเมืองบัฏลิยูส (Badajoz) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของอัลบาญีย์ที่เรียกร้องให้อัลอันดะลุสรวมเป็นหนึ่ง และขอความช่วยเหลือจากกองทัพอิสลามในมอรอคโค (อัลมุรอบิฏูน) คณะทูตจากอัลอันดะลุสได้มุ่งหน้าสู่มอรอคโค ในปีฮ.ศ.474 ก่อนหน้าการเสียเมืองโทเลโดเพื่อขอร้องให้ยูซุฟ อิบนุ ตาชฟีน เข้ามาช่วยเหลือพลเมืองอัลอันดะลุส ยูซุฟได้ให้สัญญากับคณะทูต และเริ่มเตรียมการที่จำเป็นเพื่อภารกิจดังกล่าว

 จากhttp:/http://www.alisuasaming.com/index.php/andalucia/1814-andalucia10